วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ปลาฉลาม แปลกหายาก

ปลาฉลาม แปลกหายาก


ฉลามกอบลิน


  • ฉลามกอบลิน(goblin shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitsukurina owstoni
  • ฉลามกอบลิน เป็น ปลาน้ำลึก อาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเล ในบริเวณที่มีความลึกตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป ตัวอย่างที่เคยจับได้ลึกที่สุดจับได้ที่ความลึก 1,300 เมตร
  • ฉลามกอบลิน สามารถพบได้ทั่วไปในน้ำลึกที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง พบได้ทั่วตั้งแต่ออสเตรเลีย ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก แต่แหล่งที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ บริเวณน้ำลึกโดยรอบประเทศญี่ปุ่น(โดยเป็นสถานที่แรกที่ค้นพบพวกมัน)
  • พวกมันมีลักษณะร่างกายที่เด่นชัดคือ มีสีผิวชมพูอมเทาอันเป็นผลมาจากผิวที่ค่อนข้างกึ่งใสทำให้ห็นเส้นเลือด(ทั่ว ไปไม่ค่อยมีฉลามผิวสีชมพู) มีปลายจมูกยื่นยาว สามารถพุ่งขากรรไกรยื่นยาวออกจากปากได้ ครีบหางยาวไม่เป็นแฉก
  • ฉลามกอบลิน กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งปลาน้ำลึก ปลาหมึก ปู
  • ส่วนเรื่องการสืบพันธุ์ของพวกมันนั้นแทบจะมีข้อมูลเลย แต่ถ้าเทียบเคียงกับสัตว์ในอันดับ(order) Lamniformes คาดว่าพวกมันจะปฏิสนธิไข่ในท้องแม่ปลา โดยตัวอ่อนจะค่อยๆพัฒนาการอยู่ไข่ จนฟักตัวในท้องแม่ถึงจะคลอดออกมา(ovoviviparous)
  • ฉลามกอบลินสามารถยาวได้ถึง 3.3 เมตร หนักได้ถึง 159 กิโลกรัม(โดย 25%ของน้ำหนักตัวของปลานั้นเป็น ตับ ที่ใช้ในการช่วยการลอยตัว เนื่องจากพวกมันไม่มีถุงลม(swim bladder หรือที่เรารู้จักกันในชื่อกระเพาะปลา))
  • ฉลามกอบลิน ออกล่าเหยื่อโดยใช้อวัยวะรับกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า electro-sensitive organs ที่อยู่บริเวณปลายจมูก และรอบปาก เนื่องจากในบริเวณที่มันอยู่อาศัยไม่มีแสงอาทิตย์ประสาทสัมผัสส่วนการมอง เห็นจึงไม่มีประโยชน์ ทันทีที่มันพบเหยื่อในระยะมันจะยื่นขากรรไกรออกไปงับเหยื่อ ขณะเดียวกันจะใช้กล้ามเนื้อที่ลักษณะคล้ายลิ้นดูดเหยื่อมายังฟันหน้า
  • พวกมันมักจะถูกจับได้ด้วยอวนน้ำลึก ขากรรไกรของพวกมันมีความต้องการสูงในตลาดทำให้มีราคาสูงถึง 1,500-4,000เหรียญสหรัฐ(45,000 - 120,000บาท)





ปลาฉลามฟันเลื่อย

 (อังกฤษ: Sawshark, Sawfish, อันดับ: Pristiophoriformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง ในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristiophoriformes
มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาฉนาก (Pristiformes) ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกัน หากแต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นย่อยปลากระเบน (Batoidea) คือ มีจุดเด่น มีอวัยวะที่ยื่นออกมาเป็นกระดูกแข็งจากส่วนหน้าที่มีลักษณะแบนราบแต่มีหนาม แหลมอยู่ข้าง ๆ เป็นซี่ ๆ คล้ายฟันเลื่อยหรือกระบองแข็ง แต่ต่างจากปลาฉนากตรงที่มีหนวดยาวอยู่ 2 เส้นอยู่ด้วย และมีซี่กรองเหงือกอยู่หลังตาเหมือนปลาในชั้นย่อยปลาฉลาม
มีครีบหลัง 2 ครีบ และครีบก้น แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล คือ Pliotrema ซึ่งมีซี่กรองเหงือก 6 ช่อง กับ Pristiophorus มีซี่กรองเหงือก 5 ช่อง เหมือนเช่นปลาฉลามทั่วไป มีความเต็มที่ประมาณ 170 เซนติเมตร
ปลา ฉลามฟันเลื่อย พบกระจายพันธุ์อยู่ตามพื้นทะเล ในเขตของทะเลญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้จนถึงแอฟริกาใต้ มีพฤติกรรมความเป็นอยู่ ทั่วไปคล้ายกับปลาฉนาก โดยหากินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ตามหน้าดินและปลาต่าง ๆ เป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัว อยู่ในความลึกตั้งแต่ 40 เมตรจนถึงลึกกว่านั้น



ปลาฉลามประดับพู่

  • ข้อมูลของฉลามพู่นั้นมีอยู่น้อยมากเนื่องจากพวกมันเป็น ปลาน้ำลึก ซึ่งจะพบเห็นพวกมันในน้ำตื้นได้น้อยมาก
  • ปลา ฉลามประดับพู่(Frilled Shark ในบ้านเราเรียกว่า ฉลามครุย แต่ผมว่ามันเหมือนมีพู่ติดอยู่บ้างเหงือกมากกว่าก็ขอเรียกว่า ฉลามประดับพู่แล้วกันครับ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus โดยคำว่า anguineus มาจากภาษาลาตินที่มีความหมายว่า เหมือนงู(snakelike)
  • พวกมันเป็น 1 ในสายพันธุ์ฉลามโบราณ ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
  • ฉลาม ประดับพู่ มีรูปร่างลักษณะที่แปลกประหลาดอย่างมาก โดยมีร่างกายคล้ายปลาไหลคดงอ ตัวมีสีน้ำตาลเข้มหรือเทา โดยมีหัวมีลักษณะคล้ายกิ้งก่า มีจมูกป้านตัด มีปากขนาดใหญ่ที่ภายในมีพันเรียงเป็นแถวตอนลึกประมาณ 30 ซี่โดยฟันแต่ละซี่มีลักษณะเป็นสามง่ามเล็กๆจำนวนมาก ที่ทำหน้าที่เป็นตะขอนับพันเพื่อใช้เกี่ยวเหยื่อ
  • ลักษณะ เด่นอีกอย่างของพวกมันคือ มีแถบเหงือกอยู่ข้างละ 6 ริ้ว โดยเหงือกแต่ละแถบจะปรากฏเป็นพู่ฝอ ยยื่นโผล่ออกมาอย่างชัดเจนโดยเฉพาะเหงือกแถบหน้าสุดจะมีพู่ยื่นใหญ่กว่า เหงือกแถบอื่นๆจนเหมือนมีพู่คล้องไว้รอบคอ และเหงือกแต่ละริ้วก็มีลักษณะลึกเข้าไปในลำคอมากจนเหมือนพวกมันถูกแล่ด้วย มีดจนคอเกือบขาด(แต่ก็เป็นลักษณะตามธรรมชาติของพวกมัน)
  • ไม่ เคยมีใครเคยเห็นทักษะในการล่าเหยื่อของพวกมัน แต่คาดว่าจะใช้การพุ่งโจมตีอย่างรวดเร็วเหมือนงู โดยซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน โดยจากการวิเคราะห์เศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะพวกมันพบว่า 61% ของอาหารที่พบเป็นกลุ่มปลาหมึก ทำให้สามารถอธิบายได้ถึงลักษณะฟันของพวกมันที่เหมือนส้อมแหลมที่เหมาะในการ เจาะเข้าฝังในเนื้อนุ่มๆ ลื่นของปลาหมึกเพื่อป้องกันการลื่นหลุด


ฉลาม บาสกิ้น(Basking shark) อาจจะเคยได้ยินชื่อปลาฉลามชนิดนี้มาบ้างในบทความ กล็อบเตอร์ ก้อนเนื้อลึกลับจากท้องทะเล วันนี้มารู้จักฉลามบาสกิ้นกันให้ลึกขึ้น

  • ปลาฉลามบาสกิ้น(basking shark การที่พวกมันถูกเรียกว่าฉลามบาสกิ้น เนื่องมาจากการที่มันจะพบเห็นมันหาอาหารบริเวณใกล้ผิวน้ำเนื่องจากพวกมัน ว่ายน้ำเชื่องช้า ทำให้เห็นเหมือนพวกมันกำลังนอนอาบแดด) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cetorhinus maximus โดยคำว่า Cetorhinus มาจากคำว่า Ketos ซึ่งมีความหมายว่า สัตว์ประหลาดแห่งท้องทะเล หรือวาฬ(marine monster or Wale) และคำว่า rhinos ที่มีความหมายว่า จมูก ส่วนคำว่า maximus มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ใหญ่ยักษ์
  • ฉลามบาสกิ้นเป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 2 เป็นรองก็เพียงแต่ฉลามวาฬ(Whale shark)เท่านั้น โดยเฉลี่ยฉลามบาสกิ้นมีความยาวประมาณ 6 - 8 เมตร น้ำหนักประมาณ 5.2 ตัน โดยฉลามบาสกิ้นตัวใหญ่ที่สุดที่จับได้ที่แคนนาดาในปี 1851 มีความยาวถึง 12.27 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 19 ตัน
  • พวกมันสามารถพบได้ในทุกมหาสมุทร ในบริเวณที่มีน้ำอุ่นอุณหภูมิตั้งแต่ 8 - 14.5 องศาเซลเซียส และแพลงตอนหนาแน่น ในบริเวณผิวน้ำหรือบางครั้งอาจพบได้ที่ความลึกถึง 910 เมตร อาจจะปรากฏตัวลำพังตัวเดียว หรือเป็นเป็นฝูงเล็กๆ ในฤดูผสมพันธุ์ที่อ่าว Fundy โดยจะว่ายวนเป็นวงกลม
  • ถึงขนาดจะใหญ่โตแต่พวกมันก็ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เนื่องจากพวกมันกินแพลงตอน และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
  • พวกมันเคลื่อนไหวเชื่องช้า เวลาหาอาหารก็จะอ้าปากขนาดใหญ่ให้น้ำไหลผ่านเหงือกที่จะทำหน้าที่กรองอาหาร
  • ฉลามบาสกิ้น โดยทั่วไปจะมีร่างกายสีเทาออกน้ำตาล มีปลายจมูกเป็นรูปกรวย มีปากขนาดใหญ่ มีเหงือกสีดำมีลักษณะเป็นซี่คล้ายขนแข็งขนาดใหญ่ที่พัฒนามาเป็นอย่างดี สำหรับกรองอาหาร มีริ้วเหงือกภายนอกตั้งแต่ส่วนบนหัวถึงด้านล่างหัว
  • ฉลามบาสกิ้น มีฟันนขนาดเล็กรูปกรวยโค้งเข้าด้านในปากเหมือนกันทั้งด้านบน และล่างจำนวนมากโดยแต่ละแถวจะมีฟันจิ๋วๆนี้มากถึง หนึ่งพันซี่
  • พวกมันถูกล่าเพื่อการพาณิชย์มามาตั้งแต่อดีต เพื่อนำไปทำอาหารของทั้งคนและสัตว์เลี้ยง ครีบนำไปทำหูฉลาม และน้ำมันตับปลา(Shark liver oil พบน้ำมันตับปลามากถึง 25%ของน้ำหนักตัว) จนปัจจุบันลดจำนวนลงอย่างมากจนในบางพื้นที่ไม่สามารถพบเห็นพวกมันแล้ว


ฉลามเมก้าเม้าท์ เป็น 1 ในสายพันธุ์ปลาหายาก พวกมันเป็นปลาฉลามน้ำลึก ที่มีการค้นพบตั้งแต่ช่วงปี 1976 มีการพบเห็นน้อยครั้งมาก

  • ฉลามเมก้าเม้าท์(megamouth shark ฉลามปากอภิมหาใหญ่) พวกมันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Megachasma pelagios
  • มีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวของพวกมันได้ 3 ครั้ง ทำให้ทราบว่าพวกมันจะว่ายน้ำไปพร้อมๆกับการอ้าปากขนาดใหญ่เพื่อให้น้ำไหล ผ่าน เพื่อกรองแพลงตอน และแมงกะพรุนจากน้ำทะเล กินเป็นอาหาร
  • ฉลามเมก้าเม้าส์ มีลักษณะ คือ มีหัวขนาดใหญ่ ริมฝีปากหนา มีร่างกายสีน้ำตาลเข้มด้านบน และสีขาวด้านล่าง มีริ้วเหงือกที่ใช้กรองอาหาร พวกมันว่ายน้ำได้ช้า มีเนื้ออ่อนนุ่ม
  • ฉลามเมก้าเม้าท์ สามารถยาวได้ถึง 5.5 เมตร โดยทั่วไปตัวผู้ยาว 4 เมตร และตัวเมียยาว 5 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 1,215(ตามที่มีรายงาน)
  • ฉลามเมก้าเม้าท์สามารถอ้าปากได้กว้างถึง 1.3 เมตร ภายในมีพันเล็กๆจำนวนมาก บริเวณรอบๆปากจะแถบที่สามารถเรืองแสงได้(luminous photophores) เพื่อใช้ล่อเหยื่อ
  • โดยในปี 1990 สามารถจับฉลามเมก้าเม้าท์เพศผู้ความยาว 4.9 เมตร ได้ที่ Dana Point ในแคลิฟอร์เนีย และได้มีการติดแถบติดติดตามตัวด้วยสัญญาณวิทยุ แถบนี้ทำให้ทราบว่าในตอนกลางวันพวกมันจะท่องอยู่ในความลึก 120-160 เมตร แต่เมื่อพระอาทิตย์ตกดินพวกมันจะขึ้นมาอยู่ในระดับความลึกเพียง 12-25 เมตร จากการติดตามเป็นเวลา 2 วัน 2 คืน ทำให้ทราบว่าพวกมันเคลื่อนไหวช้ามากโดยมีความเร็วเฉลี่ยเพียง 1.5-2.1 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น


  • ฉลามกรีนแลนด์(Greenland shark) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Somniosus microcephalus
  • พวกมันมีถิ่นที่อยู่อาศัยในทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก บริวเวณ กรีนแลนด์(Greenland) และไอซ์(Iceland) ทำให้พวกมันเป็นฉลามที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยขึ้นไปทางเหนือไกลกว่า ฉลาม สายพันธุ์ใด พวกมันอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำเย็นตั้งแต่ -0.6 ถึง 10 องศาเซลเซียส และมีการพบพวกมันในระดับความลึกถึง 2,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลโดยยานดำน้ำ
  • ฉลามกรีนแลนด์ มีขนาดร่างกายใกล้เคียงฉลามขาวยักษ์ โดยฉลามกรีนแลนด์สามารถยาวได้ถึง 6.4 เมตร หนักได้ถึง 1 ตัน และเป็นไปได้ที่ฉลามกรีนแลนด์จะยาวได้ถึง 7.3 เมตร และหนักว่า 1.4 ตัน อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปจะพบฉลามกรีนแลนด์ยาวประมาณ 3-4.8 เมตร หนักประมาณ 400 กิโลกรัมขึ้นไป คาดว่าพวกมันอาจจะมีอายุยืนถึง 200 ปี
  • ฉลามกรีนแลนด์จัดเป็นนักล่าในกลุ่ม เอเป็กพรีเดเตอร์(Apex predator นักล่าที่อยู่สูงสุดในห่วงโซ่อาหาร คือ ไม่มีสัตว์อื่นใดล่ามันเป็นอาหารตามธรรมชาติ แต่พวกมันโชคร้ายที่เจอมนุษย์) พวกมันกินปลา ไล่ไปถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลเช่น แมวน้ำ พวกมันอาจจะมีชื่อเสียงน่ากลัวจากการที่นานครั้งจะมีการพบซาก หมีขั้วโลก กวางกวางเรนเดียร์ กวางคารีบูในท้องของพวกมัน แต่คาดว่ามันจะกินซากสัตว์ที่ตายแล้วมากกว่าการที่มันจะออกไล่ล่า หมีขั้วโลก และกวางเป็นอาหาร
  • มีหลักฐานว่าฉลามกรีนแลนด์ในแคนนาดา และบริเวณปากแม่น้ำอาร์ติก จะซุ่มรอเพื่อล่า กวางคารีบู แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าพฤติกรรมที่นานๆพบนี้เป็นพฤติกรรมปกติของ พวกมัน
  • พวกมันไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อาจจะมีแค่เรื่องเล่าว่าพวกมันโจมตีเรือแคนูของชาวเอสกิโม
  • อีกเรื่องประหลาดของพวกมันก็คือ เรื่องเพื่อนซี้คิดไม่ซื่อของพวกมัน ที่เป็นปรสิตที่มีชื่อว่า Copepod Ommatokoita Elongata ที่ใช้ดวงตาของมันเป็นบ้าน และใช้เนื้อเยื่อกระจกตา(Corneal tissue)ของพวกมันเป็นอาหาร ปรสิตพวกนี้ความความยาวถึง 5 เซ็นติเมตร ที่จะฝังส่วนท้ายเข้าไปในดวงตาของฉลามกรีนแลนด์ โดยที่ฉลามกรีนแลนด์เกือบทุกตัวจะมีปรสิตอาศัยอยู่ในตาอย่างน้อย 1 ข้าง
  • การติดปรสิตพวกนี้ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ฉลามกรีนแลนด์ตาบอดได้ทีเดียว และมีจำนวนมากที่ตาบอดทั้งสองข้างแต่เนื่องจากฉลามกรีนแลนด์อาศัยอยู่ในน้ำ ลึกที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงการที่พวกมันตาบอกก็ไม่มีผลกระทบอะไรมากนักกับ พวกมันเนื่องจากพวกมันก็ไม่ค่อยใช้ประสาทการมองเห็นในการล่าอยู่แล้ว
  • แต่ปรสิตพวกนี้ก็ไม่ได้อาศัยอยู่กับฉลามกรีนแลนด์ในลักษณะกาฝากฝ่าย เดียว เนื่องจากพวกมันเป็นปรสิตที่สามารถเรืองแสงได้ แสงที่เรืองออกมาจะล่าปลามาให้ฉลามกรีนแลนด์กินอีกทอดหนึ่ง
  • เนื้อของฉลามกรีนแลนด์นั้นมีพิษจาก กรดยูริค(Uric acid) และ trimethylamine oxide แต่ชาวไอซ์แลนด์ก็มีวิธีปรุงเนื้อฉลามกรีนแลนด์เป็นเมนูพิศดาร ที่เรียกว่า ฉลามเน่า(Hákarl หรือ kæstur hákarl) ที่ได้ชื่อว่าเป็น อาหารที่เหม็นที่สุดในโลก
  • ฉลามกรีนแลนด์ ถูกชาวไอซ์แลนด์ล่ามาเป็นเวลานับร้อยปีๆ เพื่อนำเนื้อมาทำอาหาร นำหนังมาทำของเท้า และนำฟันมาทำเครื่องมือ

มี รูปร่างที่แปลกตาแตกต่างไปจากปลาฉลามในวงศ์หรือสกุลอื่น ๆ คือ มีส่วนหัวที่แบนราบและแผ่ออกข้างคล้ายปีกหรือแลดูคล้ายค้อนทั้งสองข้าง โดยมีดวงตาอยู่สุดปลายทั้งสอง ปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีไว้เพื่ออะไร แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ช่วยให้การหาว่ายน้ำที่ช่วยส่งแรงยกตัวขึ้นหน้าด้าน ทำให้พุ่งตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ดีขึ้น อีกทั้งยังใช้เป็นประสาทสัมผัสรับรู้และช่วยลดแรงต้านน้ำให้เหลือน้อยลงใน การไล่งับอาหาร และในเวลาเอี้ยวหัวในเวลาว่ายน้ำ ซึ่งจากตำแหน่งของตาที่อยู่สุดปลายปีกสองข้างนั้น ทำให้ปลาฉลามหัวค้อนมีประสาทสายตาดีกว่าปลาฉลามจำพวกอื่น ๆ โดยสามารถมองเห็นภาพในมุมกว้างได้มากกว่าและสามารถทำให้มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ และยังสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อจับหาที่อยู่ของอาหารได้ด้วย ไม่ว่าจะอยู่กลางทะเลหรือซ่อนอยู่บริเวณหน้าดินก็ตาม แต่ทว่าก็มีข้อเสียคือ ไม่สามารถที่จะเห็นภาพหรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในระยะใกล้ได้[1]มีสีลำตัวเป็นสีเทาอมน้ำตาลหรือสีเทาอมดำ หรือจนเกือบดำในบางชนิด ใต้ท้องเป็นสีขาวมีปากเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวอยู่ด้านล่างส่วนหัว


พฤติกรรม

ปลา ฉลามหัวค้อน มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 10-20 ตัว พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลแถบอบอุ่นทั่วทุกมุมโลก เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว มีขนาดลำตัวตั้งแต่ไม่เกิน 1.5 เมตรจนถึง 6 เมตร ชอบกินอาหารจำพวก ปลากระดูกแข็งขนาดเล็กกว่า รวมถึงปลากระเบนซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเหมือนกันด้วย นอกจากนี้ยังชอบกิน หมึก, กุ้ง, ปู และหอย รวมทั้งอาจล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมในทะเลขนาดใหญ่ เช่น โลมาหรือแมวน้ำ ได้ด้วยในบางชนิด โดยมักว่ายหากินตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงใต้ท้องทะเลลึกกว่า 275 เมตร ชอบว่ายน้ำโดยไม่หยุดไปมาตลอด ซึ่งสามารถว่ายน้ำได้ระยะไกล ๆ ในวันหนึ่ง ๆ โดยมีความเร็วในการว่ายประมาณ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 25 ปี
ปลา ฉลามหัวค้อนจะออกลูกเป็นตัว ตกคราวละ 4-37 ตัว โดยการผสมพันธุ์จะเกิดก่อนที่ตัวเมียจะตกไข่นานถึง 2 เดือน ปลาตัวเมียจะเก็บน้ำเชื้อของตัวผู้ไว้ในต่อมสร้างเปลือกไข่ ซึ่งไข่จะเจริญมาจากรังไข่ข้างขวาซึ่งจะทำหน้าที่เพียงข้างเดียว ตัวอ่อนในมดลูกจะได้รับอาหารและออกซิเจนจากถุงไข่แดงและพู่เหงือก ซึ่งจะหายไปเมื่อโตขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น