วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน (อังกฤษJellyfish, Medusa) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก
แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน





รูปร่าง

แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายประกอบด้วยเจลาตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถมองเห็นเข้าไปได้ถึงอวัยวะภายใน เป็นสัตว์ที่ไม่มีทั้งสมองหรือหัวใจ[2] ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า "เมดูซ่า" ซึ่งศัพท์คำนี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 หรือ 600 ล้านปี[2][3] มีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ[4]

วงจรชีวิต

วงจรชีวิตของแมงกะพรุน
หลังจากผสมพันธุ์แล้ว แมงกะพรุนเมื่อได้ปฏิสนธิแล้ว หลังจากนั้นตัวอ่อนจะพัฒนาขึ้นมา มีลักษณะเหมือนขนหรือหนอนตัวเล็ก ๆ มีขนละเอียดรอบตัว เรียกว่า "ซิเลีย" จากนั้นจะพัฒนาไปเป็น "พลานูลา" จะคืบคลานไปหาที่ ๆ เหมาะสมเพื่อเกาะและเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น "โพลิป" ซึ่งมีสันฐานเหมือนดอกไม้ทะเลขนาดจิ๋ว คือ มีลำตัวที่เหมือนกับแจกันเกาะอยู่กับวัสดุต่าง ๆ ลำตัวหงายขึ้น โดยมีหนวดอยู่รอบปากด้านบน ซึ่งแตกต่างไปจากแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เมื่อโพลิปได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และจำเพาะก็จะเกิดการแตกหน่อซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งคือ แมงกะพรุนขนาดเล็กที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ จะหลุดและลอยไปตามกระแสน้ำ ที่เรียกว่า "อีฟีรา" หรือ "เมดูซ่า" มีลักษณะเหมือนแมงกะพรุนตัวเต็มวัย คือ ลำตัวคว่ำลง หนวดอยู่ด้านล่าง หากแมงกะพรุนในขั้นนี้ได้รับอาหารที่พอเพียง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะเจริญเติบโตกลายเป็นแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต่อไปก็จะเข้าสู่วงจรเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง[1]

พิษ

แมงกะพรุนหลายชนิดมีพิษ โดยบริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นรอบปาก เรียกว่า "มีนีมาโตซีส" หรือเข็มพิษ ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อ หรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร ซึ่งโดยมากเป็น ปลาและใช้สำหรับป้องกันตัว ปริมาณของนีมาโตซีสอาจมีจำนวนถึง 80,000 เซลล์ ใน 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ภายในนีมาโตซีสนี้เองมีน้ำพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่น บวมแดง เป็นรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรังได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับแมงกะพรุนแต่ละชนิด ในชนิด Chironex fleckeri ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเซลล์เข็มพิษมากถึง 4-5,000,000,000 ล้านเซลล์ ในหนวดทั้งหมด 60 เส้น ซึ่งมีผลทางระบบโลหิต โดยไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตลงได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

การจำแนกและคุณลักษณะ

แมงกะพรุนไฟ ที่จัดอยู่ในชั้นไซโฟซัว
โดยทั่วไปแล้ว แมงกะพรุนมีหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ,สารส้ม และโซเดียม   ก่อนจะนำออกขาย โดยประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ ซึ่งแมงกะพรุนชนิดที่รับประทานได้ คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) และ แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) ซึ่งชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย 
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่พบได้ในท้องทะเลทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทั้งส่วนที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งเช่น มหาสมุทรอาร์กติก หรือในที่ ๆ ลึกเป็นพัน ๆ เมตรที่แสงสว่างส่องลงไปไม่ถึง คาดการว่ามีแมงกะพรุนทั้งหมดราว 30,000 ชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีราว 2,000 ชนิด และเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษราว 70 ชนิด ที่มีอันตรายต่อมนุษย์
ขณะที่แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษ จะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ (Crysaora spp.) ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ถูกต่อยได้ บริเวณที่ถูกต่อยนั้นจะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสิ่งที่สามารถปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนไฟได้เป็นอย่างดี คือ ใบของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูขยี้บริเวณที่ถูกพิษ จะช่วยทุเลาอาการได้ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาจำพวก แอสไพรินได้ ก่อนจะนำส่งสถานพยาบาล  หรือการปฐมพยาบาลแบบง่ายที่สุด คือ ใช้น้ำจืดราดบริเวณที่ถูกต่อย เพื่อให้เข็มพิษของแมงกะพรุนนั้นหลุดไป จากนั้นจึงใช้น้ำส้มสายชูราดลงไป ก็จะทำลายพิษได้
มีสัตว์บางประเภทที่ถูกเรียกว่า แมงกะพรุน เช่นกัน แต่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืด คือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Craspedacusta spp.) จัดเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำจืดของสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นไฮโดรซัว[11]
แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปรกติพบในอาร์กติกมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หมีขั้วโลก (Polar Bear)



หมีขั้วโลก (Polar Bear) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นนักล่าแห่งดินแดนขั้วโลกเหนือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพชีวิตกลางน้ำแข็ง ธรรมชาติสร้างให้หมีขาวแตกต่างจากหมีพันธุ์อื่น คือ มีขนคลุมอุ้งเท้า นิ้วเท้าสั้น เล็บโค้งงอเพื่อ ให้ยึดน้ำแข็งได้อย่างมั่นคง ในขณะเดียวกันก็มีท่อนขาขนาดใหญ่เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักมหาศาล เพื่อสามารถเดินบนน้ำแข็งบางๆ ได้

       หมีขั้วโลก ตัวผู้หนักถึง 775-1,500 ปอนด์ ส่วนตัวเมียหนัก 330-500 ปอนด์ มีถิ่นที่อยู่บริเวณอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ แต่ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน พบในอลาสกาแคนาดา รัสเซีย เดนมาร์ก (กรีนแลนด์และนอร์เวย์ เป็นสัตว์สปีชีส์หนึ่งของโลกที่กำลังถูกคุกคาม ปัจจุบันหมีขั้วโลกมีจำนวนประมาณ 22,000-27,000 ตัว อยู่ในแคนาดามากที่สุดคือราว 15,000 ตัว ซึ่งการดำรงชีวิตให้อยู่รอดในแถบอาร์กติกที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ทำให้สัตว์หลายๆ ชนิดใช้เวลายาวนานในการวิวัฒนาการจนมีขนสีขาว หรือเปลี่ยนสีขนในฤดูหนาวจนกลมกลืนกับหิมะ ซึ่งเป็นการพรางตัวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และหาอาหาร ดังเช่นกระต่ายป่าสีขาว (white hare) , นกนางนวลอาร์กติก (Arctictern) , ตัววีเซล (weasel) , ตัวเลมมิง (lemming) , หมาจิ้งจอกอาร์กติก (Arctic fox)
โดยเฉพาะหมีขั้วโลก (polar bear) ที่ใช้เวลาประมาณ 2 แสนปี พัฒนา และมีวิวัฒนาการจากหมีสีน้ำตาลมาเป็นหมีขาวในทุกวันนี้





หมี ขั้วโลกหรือที่นักวิทยาศาสตร์บางคนระบุว่ามันคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์แห่งมหาสมุทรที่ชอบใช้ชีวิตอยู่ในน้ำมากกว่าบนบกหมีชนิดนี้อาศัยอยู่ในดินแดนน้ำแข็งที่หนาวเหน็บเกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจ

ที่ราบทุนดร้าแห่งอาร์คติค มีพื้นที่ 5 ตารางไมล์ ที่นี่มีฤดูหนาวกินระยะเวลานานถึง 4 เดือน ซึ่งอุณหภูมิจะลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงลบ 50องศาเซลเซียล ลมจะพัดผ่านผืนหิมะอันว่างเปล่าด้วยความเร็วประมาณ 100 ไมล์ต่อชั่วโมง ส่วนผืนน้ำถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่ลึกกว่าฟุตท่ามกลางความหนาวเหน็บนี้ หมีขั้วโลกใช้เวลายาวนานกว่าสองแสนปี เพื่อพัฒนาศิลปะแห่งการอยู่รอดในดินแดนแห่งนี้

แต่การปรับตัวบางอย่างถูกคิด ค้นมาหลอกเราได้อย่างชาญฉลาด เช่น ขนสีขาวราวหิมะอันแสนสวยที่แลดูขาวสะอาดและละเอียดของมัน แท้จริงแล้วขนของมันไม่ใช่สีขาวเลยแม้แต่น้อย ซึ่งขนของหมีขั้วโลกนั้นเหมือนกับผ้าห่มหนาที่ทำมาจากหลอดดูดน้ำแบบละเอียด ทั้งหมดเหมือนเคลือบด้วยยาทาเล็บ แพขนจะสะท้อนแสงแดดที่ทอดลงมาบนหิมะ ทำให้มันดูเป็นสีขาวและกลืนไปกับสภาพแวดล้อม

เมื่อถึงเวลาอาหาร นักกินที่มูมมามอย่างหมีขั้วโลกจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อกินอย่างสะอาดการ ดูแลตัวเองเป็นเรื่องใหญ่ของหมีขั้วโลก พวกมันสนใจกับการดูแลตัวเองมาก และไม่แปลกที่หมีจะหยุดกินแล้วทำความสะอาดอุ้งเท้าที่เปรอะไปด้วยเลือด ก่อนจะกลับไปกินต่อแต่ที่หมีขั้วโลกทำเช่นนี้คือมีเหตุผลว่าขนที่เกรอะกรัง และสกปรกจะไม่สามารถช่วยป้องกันความหนาวเย็นได้ เพราะการป้องกันความหนาวคือสิ่งสำคัญต่อหมีขั้วโลก หมีมีระบบทำความร้อนสำรองใต้เส้นขน ชั้นไขมันหนาจะเก็บความร้อนไว้ภายในร่างกายซึ่งหมีขั้วโลกจะรักษาอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติอยู่ตลอดเวลา

ในบางครั้ง ขนที่หนาและละเอียดของมัน รวมถึงชั้นไขมันอาจทำให้ความร้อนในตัวสูงเกินไปจนอาจเสียชีวิตได้ ทำให้พวกมันต้องใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า งานวิจัยต่างๆ แสดงว่าการเดินช้าๆ ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของพวกมันได้ เจ้าหมีจะเดินไปบนน้ำแข็งและหิมะด้วยความเร็วเพียง 3 – 4 ไมล์ต่อชั่วโมงเท่านั้น

หมีขั้วโลกครองสถิติเท้าใหญ่ ที่สุดในบรรดาตระกูลหมีทั้งหมด อุ้งเท้าขนาดใหญ่ที่ถูกออกแบบมาพิเศษสำหรับน้ำแข็งโดยเฉพาะ เท้าของมันปกคลุมไปด้วยปุ่มคล้ายนิ้วที่เรียกว่า “พาพิเล” ซึ่งช่วยทำให้ฝ่าเท้ามีลักษณะเหมือนกระดาษทราย ทำให้มีแรงฝืดบนน้ำแข็งอันแสนลื่นได้ เท้ากึ่งพังผืดทำให้สามารถว่ายน้ำได้อย่างง่ายดาย อุ้งเท้าหนาทำหน้าที่เปรียบเสมือนไม้พาย ผลักดันร่างกายอันใหญ่โตผ่านน้ำ ฝ่าเท้าหลังบังคับทิศทางเสมือนหางเสือกรงเล็บจะจิกลงไปบนแผ่นน้ำแข็งช่วยให้ มันยกตัวขึ้นจากน้ำได้ พวกมันไม่มีปัญหาในการเกาะแพน้ำแข็งเพื่อเดินเช่นกัน เท้าใหญ่ของมันจะช่วยในการกระจายน้ำหนักเหนือแผ่นน้ำแข็งบางๆ และถ้าหากน้ำแข็งบางเกินไปพวกมันจะนอนราบไปบนพื้นน้ำแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแตกหัก


หมีเพศเมียที่ตั้งท้องต้องขุดโพรงสำหรับคลอดลูกในฤดูใบไม้ร่วง ลูกหมีมักถือกำเนิดในเดือนธันวาคมและมกราคม ตอนเกิดพวกมันจะมีน้ำหนักเพียงหนึ่งปอนด์เท่านั้น และจะใช้เวลา 3 – 4 เดือน ในการกินและนอนหลับเคียงข้างแม่ แต่ไม่ใช่การจำศีล เพราะหมีขั้วโลกไม่มีการจำศีล

หมีขั้วโลกจะกินเกือบทุกสิ่ง มันกินวอลรัส สุนัขจิ้งจอก นกทะเล ในบางครั้งฝูงวาฬเบลูก้าจะว่ายเข้ามาติดในช่องว่างระหว่างแพน้ำแข็งทำให้หมีหาอาหารง่าย หมีขาวร่างใหญ่กินอาหารหลากชนิด แต่สัตว์หลากชนิดเหล่านั้นต้องอาศัยหมีเหมือนกัน เช่นสุนัขจิ้งจอกขั้วโลกมันจะคอยติดตามหมีอยู่เสมอเพื่อหาเศษอาหารที่เหลือ นอกจากหมีขั้วโลกจะกินเนื้อสัตว์แล้ว มันยังต้องหาแหล่งแร่ธาตุและวิตามินเพื่อพวกมันจะได้กินอาหารครบหมู่ แม่หมีจะคอยแสดงให้ลูกเห็นถึงประโยชน์ของการกินผักเขียวตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นเพราะเจ้าตัวเล็กชอบที่จะเลือกกิน

หมีขั้วโลกทั้งเพศผู้และเพศ เมีย ต่างเป็นนักพเนจรที่โดดเดี่ยว แยกห่างจากกันและกัน นอกเหนือจากเวลาที่พวกมันมาชุมนุมกันเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง เช่น ในฤดูผสมพันธุ์ หมีที่สูง10 ฟุต โตเต็มที่อาจอยู่ได้นาน 30 ปี ตลอดชีวิตของหมีขั้วโลกนั้น การอดทน การออกล่าการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด นี่คือวิถีแห่งราชาน้ำแข็ง วิถีแห่งหมีขั้วโลกอย่างแท้จริง




วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย


วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย





วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย (อังกฤษSperm whale ชื่อวิทยาศาสตร์Physeter macrocephalus) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) ชนิดที่ใหญ่ที่สุด
วาฬสเปิร์มมีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหัวใหญ่และยาวมากเกือบร้อยละ 40 ของลำตัว ลำตัวสีเทาดำผิวหนังเป็นรอยย่นตลอดลำตัว ส่วนหน้าผากตั้งฉากตรงขึ้นจากปลายปากบน และเป็นแนวหักลาดไปทางส่วนหลัง ท่อหายใจรูเดียว อยู่ส่วนบนเยื้องไปด้านซ้ายของหัวครีบหลัง มีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาตั้งอยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว และมีสันเป็นลอน ๆ ไปจนเกือบถึงโคนหาง ครีบข้างค่อนข้างเล็กปลายมนเหมือนใบพาย ไม่มีครีบหลัง ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนหัว ฟันเป็นเขี้ยวจำนวน 16-30 คู่ บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่มีฟัน แต่จะมีช่องสำหรับรองรับฟันล่างเวลาหุบปากเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจพบฟัน 10-16 คู่ ในกระดูกขากรรไกรบนของวาฬที่มีอายุมาก ๆ[3] นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ ปากจะเป็นสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าในที่ ๆ น้ำลึกสีขาวนี้จะเรืองแสงในความมืด ใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อต่าง ๆ ของวาฬสเปิร์ม
มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15-20 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 3.5-4.5 เมตร แม่วาฬใช้เวลาตั้งท้องนาน 16-17 เดือน ลูกจะอาศัยอยู่กับแม่เป็นเวลาประมาณ 13 เดือนจึงแยกออกหากินอิสระ ขนาดโตเต็มที่ยาว 12-18 เมตร น้ำหนักมากถึง 28 ตัน
วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และเป็นวาฬชนิดที่ดำน้ำได้ลึกที่สุด มีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,000 เมตร โดยใช้เวลาประมาณ 40 นาที มีรายงานจากการติดตามวาฬที่ติดเครื่องหมายด้วยระบบโซน่า พบว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 2,800-3,000 เมตร โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง  แต่ขณะที่ยังเป็นวาฬวัยอ่อนอยู่ จะยังไม่สามารถดำน้ำลึกได้เหมือนตัวที่โตเต็มวัย
นอกจากนี้แล้ววาฬสเปิร์มยังเป็นวาฬชนิดที่ชอบกินหมึกเป็นอาหารมากที่สุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีความยาวได้ถึง 14 เมตร ในระดับความลึกระดับ 1,000 เมตร หรือหมึกกล้วยยักษ์ (Architeuthis dux) ที่มีขนาดรองลงมา โดยอาจยาวได้ถึง 12 เมตร[4] โดยมีการพบซากจะงอยปากของหมึกในกระเพาะของวาฬสเปิร์ม ซึ่งวาฬบางตัวจะมีผิวหนังที่เป็นรอยแผลจากปุ่มดูดของหนวดหมึกปรากฏอยู่ 
รอยแผลเป็นบนผิวหนังวาฬสเปิร์มจากปุ่มดูดของหมึกมหึมา
วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่พบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบรายงานเพียง 3 จังหวัด คือ พังงาภูเก็ต และสตูล และถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย
วาฬสเปิร์ม นับเป็นวาฬอีกชนิดหนึ่งที่ถูกล่าจากมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยการนำเขี้ยวและฟันมาเป็นทำเครื่องประดับ ไขมันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื้อสำหรับรับประทาน นอกจากนี้แล้วอาเจียนหรือมูลของวาฬสเปิร์มยังมีลักษณะแข็งเหมือนอำพัน และมีกลิ่นหอมเป็นลักษณะพิเศษ เป็นของหายาก ราคาแพง ใช้เป็นส่วนสำคัญในการผลิตหัวน้ำหอมและยาไทยได้ด้วย เรียกว่า "อำพันขี้ปลา" หรือ "อำพันทะเล" หรือ "ขี้ปลาวาฬ" และที่ส่วนหัวยังมีสารพิเศษคล้ายไขมันหรือขี้ผึ้ง เรียกว่า "ไขปลาวาฬ" ซึ่งใช้ในการผลิตโลชั่น และเวชภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งวาฬสเปิร์มได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ "โมบี-ดิก" ของเฮอร์มัน เมลวิลล์ ในปี ค.ศ. 1855 ที่เป็นเรื่องราวของการล่าวาฬสเปิร์มเผือกตัวหนึ่งที่มีนิสัยดุร้าย ชื่อ โมบี-ดิก หรือในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง      
       "พินอคคิโอ" ที่ตอนท้ายเรื่องพินอคคิโอผจญภัยเข้าไปอยู่ในท้องของวาฬ ซึ่งก็คือ วาฬสเปิร์ม เป็นต้น