วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

ชาเขียว


ชาเขียว (ญี่ปุ่น: 緑茶 ryokucha ?) , จีน: 绿茶 - พินอิน: lǜchá), อังกฤษ: green tea) เป็นชาที่เก็บเกี่ยวจากพืชในชนิด Camellia sinensis (เช่นเดียวกับ ชาขาว ชาดำ และชาอู่หลง[1] ชาที่ไม่ผ่านการหมัก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติในการต้านทานโรคได้นานาชนิดจึงเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ น้ำชาจะเป็นสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว มีรสฝาดไม่มีกลิ่น แต่จะมีการแต่งกลิ่นเพื่อให้เกิดความน่ารับประทานมากขึ้น


ประวัติ

ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนกว่า 4,000 ปีมีแล้ว กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดินามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพร ผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆในช่วงศตวรรษต่างๆดังนี้
ช่วงศตวรรษที่ 3
ชาเป็นยา เป็นเครื่องบำรุงกำลังที่ได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่3ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชากันและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ
ช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5
ชาในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็นแผ่น คือ การนำใบชามานึ่งก่อน แล้วก็นำมา กระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็นของขวัญแด่พระจักรพรรดิ
สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - 906
ถือเป็นยุคทองของชา ชาไม่ได้ดื่ม เพื่อเป็นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องมือเพื่อสุขภาพ
สมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960 - 1279
ชาได้เติมเครื่องเทศแบบใน สมัยราชวงศ์ถังแต่จะเพิ่มรสบางๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ
สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644)
ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มี การรวบรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป การผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยได้คิดค้นกระบวนการที่ เราเรียกว่า การหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน มีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้

ในประเทศไทย

ในสมัยสุโขทัยช่วงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่ม ชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาได้อย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์[2] ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมอยู่ทางภาคเหนือ

ประเภท

  1. ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวญี่ปุ่น ไม่ต้องคั่วใบชา
  2. ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวจีน จะมีการคั่วด้วยกะทะร้อน

การชงและบริการ

  1. ใส่ใบชาในกาชาประมาณ 1/6 -1/4
  2. รินน้ำเดือดลงในกาชาครึ่งหนึ่ง เททิ้งทันที (ไม่ควรเกิน 5 วินาที) เพื่อล้าง และอุ่นใบชาให้ตื่นตัว
  3. รินน้ำเดือดลงในกาชาจนเต็ม ปิดฝากา ทิ้งไว้ประมาณ 45 - 60 วินาที
  4. รินน้ำชาลงในแก้วดื่ม (การรินแต่ละครั้ง ต้องรินน้ำให้หมดกา มิฉะนั้น จะทำให้น้ำชาที่เหลือมีรสขม ฝาดมากขึ้น เสียรสชาติ) ใบชาสามารถชงได้ 4 - 6 ครั้ง หรือจนกว่ากลิ่นชาจะหายหอมไป และในการชงแต่ละครั้ง ให้เพิ่มเวลาครั้งละ 10 - 15 วินาที

เครื่องดื่มชาเขียวในไทย

ปัจจุบันชาเขียวได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้ที่สนใจและรักษาสุขภาพซึ่งชา เขียวเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นใน ปัจจุบันทั้ง ชาเขียวที่ได้สกัดมาเป็นเครื่องดื่มประเภทชาเขียวมีมากมายในยุคปัจจุบัน ซึ่งยี่ห้อที่ได้รับความนิยมมีดังนี้
ยูนิฟ 
บริษัท ยูนิ-เพรสซิเด้นท์ (ประเทศไทย) จำกัดผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่ม”ยูนิฟ กรีนที” และ “ชาลีวัง” กล่าวว่า บริษัทจึงมีแผนที่จะรักษาความเป็นผู้นำในตลาดไว้โดยการพัฒนาสินค้ารสชาติ ใหม่ๆ เข้ามาทำตลาดต่อเนื่อง ตลอดจนการเพิ่มบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ล่าสุดได้ขยายบรรจุภัณฑ์ใหม่เป็นขวดแพ็ก 500 มิลลิลิตร และได้เริ่มรสชาติชูการ์ฟรีก่อน จากที่มีอยู่ 3 รสชาติ คือ รสชูการ์ฟรี รสดั้งเดิมและรสเลมอน โดยจะจำหน่ายในราคา 20 บาท เท่ากับของคู่แข่ง โออิชิ กรีนที ที่มีขนาดบรรจุ 500 มิลลิลิตรเท่ากัน ทั้งนี้ก็เพื่อจะขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ อาทิกลุ่มผู้ออกกำลังกาย นักกีฬา และนักเดินทาง
  
       ชาเขียวโออิชิ
โออิชิ 
บริษัทได้ก่อสร้างโรงงานเพื่อผลิตชาเขียวรูปแบบใหม่กล่องยูเอชทีสำหรับ วัยรุ่นอายุระหว่าง 15-24 ปี ทั่วประเทศและชาเขียวในขวดแพ็กสำหรับคนทำงานอายุระหว่าง 25-30 ปีในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลซึ่งเป็นขวดในระบบฮอตฟิว สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลา 1 ปี คาดว่ายอดขายปีแรก 500 ล้านบาท มอบหมายให้บริษัทดีทแฮล์มฯเป็นผู้กระจายสินค้า โดยปัจจุบันในตลาดชาเขียวพร้อมดื่มยูนิฟกรีนที เป็นเจ้าตลาด[ต้องการอ้างอิง]มีส่วนแบ่ง 65% ตามด้วยทิปโก้มีส่วนแบ่ง 10% ของตลาดรวม
นะมาชะ 
บริษัท สยามคิริน เบฟเวอร์เรจ จำกัด ในกลุ่มคิริน เบฟเวอร์เรจ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ตลาดชาเขียวในปี 2549 หดตัวลง 40% เมื่อเทียบกับการเกิดกระแสชาเขียวในปี 2548 ซึ่งไม่ได้เป็นการเติบโตที่เกิดจากความต้องการดื่มที่แท้จริง แต่จากนี้ไปคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอย่างมั่นคง
จากการที่บริษัทได้เปิดตัวชาเขียว "นะมะชะ" นับว่าประสบความสำเร็จในการสร้างการรับรู้ในแบรนด์มาก และในปี 2550 บริษัทได้สร้างกลยุทธ์ทางการตลาดแนวใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น และเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดในไทย โดยได้นำ "นะมะชะแพนด้า" 2 รสชาติ คือ รสต้นตำรับ และรสหวานน้อย ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทแม่มาทำตลาดในไทย ซึ่งจะมีการแจกของพรีเมี่ยมให้กับลูกค้าด้วย เพียงซื้อ "นะมะชะ"1 ขวดที่ร้านสะดวกซื้อ ก็จะได้รับที่ห้อยโทรศัพท์ หรือซื้อ 2 ขวดที่ซูเปอร์มาร์เก็ตก็จะได้รับแก้วน้ำ ปัจจุบันไม่มีการแจกแล้ว

ฟูจิชะ 
ชาเขียวพร้อมดื่มภายใต้การควบคุมของฟูจิกรุ๊ป ผลิตจากวัตถุดิบใบชานำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และผลิตโดยใช้เทคโนโลยีระบบ cold filled ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่ใช้ความร้อนสูงในระยะเวลาสั้น แล้วผ่านไปสู่กระบวนการผลิตต่อๆไปที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้คุณค่า สารอาหาร สี และรสชาติของชาถูกทำลายไปเพียงเล็กน้อย สู่บรรจุภัณฑ์ขวดรูปทรงกระบอกและฝาปิดสองชั้น เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันการแทรกซึมของจุลินทรีย์เข้าไปในผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันมีจำหน่าย 3 สูตร คือ Natural, Tasty (หวาน), Fit (ผสมสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น