วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ยอดอัจฉริยะ

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ยอดอัจฉริยะ

                        
                               The world is not dangerous because of those who do harm
                        but because of whose who look at it without doing anything.
                                โลกใบนี้ไม่ได้น่ากลัวเพราะคนที่ก่ออันตรายกับโลก
                       แต่มันน่ากลัวเพราะคนที่มองดูมันโดยไม่คิดจะทำอะไรเลยต่างหาก

 
             ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ไอน์สไตน์ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และอาจกล่าวได้ว่า เขาคือผู้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดปรมาณูอันทรงอานุภาพแห่งการทำลายล้าง 

       เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ไอน์สไตน์ ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ แร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างลูก
ระเบิดพลังงานการทำลายสร้างรุนแรง เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม และนำสันติภาพ มาสู่โลกอีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกลงที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้คนเสียชีวิตทันทีกว่า 60,000 คน และเสียชีวิตภายหลัง
อีกกว่า 100,000 คน           

         อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 - 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและ
อเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎี
สัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464
จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี"
         

         ในปี ค.ศ.1905 เมื่อไอน์สไตน์อายุ 26 ปี เขาได้ตีพิมพ์การค้นพบสมการ E = mc 2 (E คือพลังงาน m คือมวล c คือความเร็วของแสง)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามวลขนาดเล็ก สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลได้ สมการนี้นำไปสู่การสร้างระเบิดอะตอม ซึ่งเป็นเรื่องที่ทิ่มแทงจิตสำนึก
ของไอน์สไตน์มาตลอด 20 ปีสุดท้ายของชีวิต

              
 

    หลังจากที่ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี พ.ศ. 2458 เขาก็กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยธรรมดานักสำหรับ
นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ในปีต่อ ๆ มา ชื่อเสียงของเขาได้ขยายออกไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ไอน์สไตน์ ได้กลายมาเป็น
แบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะ ความนิยมในตัวของเขาทำให้มีการใช้ชื่อไอน์สไตน์ในการโฆษณา หรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ "อัลเบิร์ต
ไอน์สไตน์" ให้เป็นเครื่องหมายการค้า
          

           ตัวไอน์สไตน์เองมีความระลึกถึงผลกระทบทางสังคม ซึ่งมีผลมาจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เขาได้เป็นปูชนียบุคคลแห่งความบรรลุทางปัญญา เขายังคงถูกยกย่องให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ที่สุดในยุคปัจจุบัน ทุกการสร้างสรรค์ของเขายังคงเป็นที่เคารพนับถือ ทั้งในความเชื่อในความสง่า ความงาม และความรู้แจ้งเห็นจริงในจักรวาล (คือแหล่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในวิทยาศาสตร์
ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่) เป็นสูงสุด ความชาญฉลาดเชิงโครงสร้างของเขาแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของจักรวาล ซึ่งงานเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านผลงานและหลักปรัชญาของเขา ในทุกวันนี้ ไอน์สไตน์ยังคงเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุด ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์
และนอกวงการ

                       
                                               Life is like riding a bicycle.
                            To keep your balance you must keep moving.
                                                ชีวิตเหมือนการปั่นจักรยาน
                             คุณจะต้องปั่นมันอย่างต่อเนื่อง มันถึงจะทรงตัวได้

 
     เขาเคยกล่าวถึงศาสนาพุทธ ว่า "ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้ง
ธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้....ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้อง การทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุบัน
ศาสนานั้นก็ควรเป็น พระพุทธศาสนา"
          

ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 300 ชิ้น และงานอื่นที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกกว่า 150 ชิ้น ปี พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น "บุรุษแห่งศตวรรษ" ผู้เขียนชีวประวัติของเขาเอ่ยถึงเขาว่า "สำหรับความหมายในทางวิทยาศาสตร์ และต่อมาเป็นความหมายต่อ
สาธารณะ ไอน์สไตน์ มีความหมายเดียวกันกับ อัจฉริยะ"
         

 ไอน์สไตน์ถึงแก่กรรมที่พรินซ์ตัน นิวเจอร์ซีย์ ในเดือนเมษายน ค.ศ.1955 จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต เขายังคงชิงชังวิธีการทำลายล้างอันน่าสะพึงกลัว ของระเบิดนิวเคลียร์ ที่นักฟิสิกส์มีส่วนสร้างให้กับโลก เขาเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า

" หากข้าพเจ้ารู้ล่วงหน้าว่าทฤษฎีของข้าพเจ้า
จะนำไปสู่การทำลายล้างอย่างมหันต์เช่นนี้
ข้าพเจ้าขอเป็นช่างทำนาฬิกาเสียดีกว่า "


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น