วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 

       วาฬสีน้ำเงิน (อังกฤษ: Blue whale; ชื่อวิทยาศาสตร์:   Balaenoptera musculus) เป็นวาฬบาลีน (Balaenopteridae) และถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยทั่วไปจะยาวประมาณ 27-29 เมตร แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบคือ 33 เมตร (เท่ากับอาคาร 8 ชั้น)   น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่   ประมาณ 100-200 ตัน   เฉพาะลิ้นก็มีน้ำหนักเทียบเท่ากับช้างหนึ่งตัว และหัวใจก็มีขนาดเท่ารถยนต์คันหนึ่ง อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้,   แอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย   รวมถึงในมหาสมุทรแอนตาร์กติกาด้วย
       ลูกวาฬจะกินเฉพาะนมแม่ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 40   มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 4 กิโลกรัม
กินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ก็อาจจะกินสัตว์น้ำขนาด   เล็กเช่น  ปลาขนาดเล็กเข้าไปด้วย สามารถดำน้ำลงไปหาอาหารได้ลึกถึง 100 เมตร และปกติจะดำน้ำนาน 20 นาที  แต่มีบันทึกสูงสุดว่าดำได้นานถึง 36 นาที และพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร ทั้งนี้ วาฬสีน้ำเงินที่โตเต็มวัยกินเคยวันหนึ่งได้มากถึง 4 ตัน
     วาฬสีน้ำเงินถูกล่าอย่างหนักเพื่อต้องการไขมันและน้ำมัน  โดยเฉพาะในช่วง 60 ปีแรกของศตวรรษที่ 20 คาดว่ามีวาฬสีน้ำเงินราว 360,000 ตัวถูกฆ่าตาย  ประชากรวาฬรอบเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ถูกฆ่าแบบล้างบาง   รวมทั้งพวกที่เคยหากินอยู่นอกชายฝั่งญี่ปุ่นด้วย ประชากรวาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มลดจำนวนลงถึงร้อยละ 99  จนเข้าสู่สภาพของการเป็นสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์   กระทั่งถึงช่วงกลางทศวรรษ 1960 จึงได้มีการอนุรักษ์ขึ้นมาอย่างจริงจัง [3]
นอกจากนี้แล้ว วาฬสีน้ำเงินยังเป็นสัตว์ที่ส่งเสียงร้องได้กว้างไกลที่สุดในโลกอีกด้วย โดยสามารถส่งได้ได้ดังถึง 1,600 กิโลเมตร ในลักษณะของคลื่นเสียง ที่มีความหลากหลาย ซึ่งเชื่อกันว่าไม่ได้เป็นไปในการสื่อสารเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังใช้การนำทางอีกด้วย
ปัจจุบัน มีปริมาณวาฬสีน้ำเงินในซีกโลกใต้อยู่ประมาณ   2,300 ตัว  อีกทั้งมีหลักฐานว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี    แต่ยังไม่มีการประมาณจำนวนวาฬชนิดนี้ที่ดีพอในบริเวณอื่นของโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น