ตำนานการชงชา
ยากที่จะปฏิเสธว่าปัจจุบันนี้น้ำชาเขียวได้แพร่หลายไปทั่วทุกหย่อมหญ้าของประเทศไทยเสียแล้ว และไม่มีใครที่ไม่เคยลิ้มลองมัน ไม่ว่าชาเขียวจากญี่ปุ่นแท้ๆหรือแค่ชาที่ดังเพราะการโปรโมท แม้ว่าชาเขียวจะดังในบ้านเรามากขนาดนี้แต่มีคนส่วนน้อยมากที่จะเคยลองชิมชาเขียวต้นตำหรับญี่ปุ่นแท้ๆ และน้อยคนลงไปอีกที่จะรู้จักประวัติความเป็นมาของมัน
สมัยก่อนมีพระรูปหนึ่งชื่อเอไซ (えいさい: Eisai) ซึ่งเป็นคนนำชาเข้ามาจากประเทศจีน สมัยนั้นจะมีแต่พระเท่านั้นที่นิยมดื่มกันจนพระเอไซนำไปมอบให้โชกุนได้ลองชิม จึงทำให้ชามีชื่อเสียงโด่งดังและแพร่หลายไปถึงในวัง จนมีการนำไปปลูกนอกเมืองเกียวโต (ขณะนั้นเมืองหลวงคือเกียวโต)
สำหรับชนชั้นสูงสมัยนั้นจะนิยมดื่มชากันในงานเลี้ยงสังสรรค์ โดยมีการดื่มชาก่อนอาหารหลัก และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีการเล่นเกมทายชา (ให้ชิมน้ำชาและทายว่าเป็นชาอะไร) จนได้มีการพัฒนาไปเป็นพิธีชงชาสำหรับคนรักการดื่มชา ซึ่งพิธีชงชาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ วาบิชะ (wabicha : わび茶) เป็นพิธีชงชาแบบเรียบง่ายทั้งพิธีและสถานที่ ก่อตั้งโดยพระจากนิกายเซนชื่อว่าทาเกะโนโจโอ (Takeno Jouou : 武野 紹鴎) ต่อมาได้ถูกพระเซนโนะริคิว (Senno Rikyu : 千利休) พัฒนาจนเป็นพิธีแบบในปัจจุบัน ทั้งวางรูปแบบและกำหนดวิธีการชงชาต่างๆยึดหลักที่ว่าต้องเรียบง่ายและจริงใจระหว่างทำพิธี
โดยมีคอนเสบของการชงชาคือ 和・敬・清・寂 (わけいせいじゃく)
和(wa) มีความหมายว่า ความสงบ สันติ
敬(kei) มีความหมายว่า ความเคารพ
清(sei) มีความหมายว่า ความสะอาด บริสุทธิ์
寂(jakku) มีความหมายว่า ความเงียบสงบ
和(wa) มีความหมายว่า ความสงบ สันติ
敬(kei) มีความหมายว่า ความเคารพ
清(sei) มีความหมายว่า ความสะอาด บริสุทธิ์
寂(jakku) มีความหมายว่า ความเงียบสงบ
และมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือนว่า 一期一会 (いちごいちえ:Ichigo ichie) ถือเสมือนว่าทั้งสองเจอกันแค่ครั้งเดียว ต้องให้เกียรติกันและทำให้ดีที่สุด
สำนักที่สืบทอดพิธีชงชาแบบวาบิชะนั้นชื่อว่าอุระเซงเคะ (Urasenke : 裏千家) ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น 茶の湯 (Chanoyu) และปัจจุบันคือ 茶道 (Chado)
ส่วนชาที่ชงในพิธีนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ
濃茶 (Koicha) ต้องชงในภาชนะใหญ่ดื่มกันได้หลายคน จึงต้องชงให้มีรสชาติเข้มข้น
薄茶 (Usucha) เป็นการชงในถ้วยเล็กๆเพื่อดื่มคนเดียว ใช้กันทั่วๆไปและสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน เมื่อก่อนเสิร์ฟกับขนมแห้ง (Higashi) แต่ปัจจุบันเสิร์ฟกับขนมสด
濃茶 (Koicha) ต้องชงในภาชนะใหญ่ดื่มกันได้หลายคน จึงต้องชงให้มีรสชาติเข้มข้น
薄茶 (Usucha) เป็นการชงในถ้วยเล็กๆเพื่อดื่มคนเดียว ใช้กันทั่วๆไปและสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน เมื่อก่อนเสิร์ฟกับขนมแห้ง (Higashi) แต่ปัจจุบันเสิร์ฟกับขนมสด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น