วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของการสร้างสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้

พัฒนาการของการสร้างสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้

 ในการสร้างสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี อาจต้องมีเรื่องของกลไกและการควบคุม หรือวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อช่วยให้สามารถใช้งานได้ตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
   
      สิ่งของเครื่องใช้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอย่างต่อ เนื่อง มีความหลากหลายทั้งรูปทรง สีสัน วัสดุ และประโยชน์ใช้สอยที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น วิวัฒนาการของเตารีดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน จากเดิมที่เป็นเตารีดใช้ความร้อนจากถ่าน ทำด้วยโลหะที่มีน้ำหนักมาก การใช้งานจะต้องเปิดฝาด้านบนเพื่อเติมถ่านที่ติดไฟแล้วลงไป เพื่อให้ความร้อนและในระหว่างการใช้งานต้องยกเตารีดไปถูกับใบตองสดอยู่เสมอ เพื่อทำให้ผิวหน้าของเตารีดลื่นและต้องคอยเติมหรือคีบถ่านเพื่อควบคุม อุณหภูมิของเตารีดไม่ให้ร้อนมากเกินไป จึงเป็นสาเหตุของการใช้งานไม่สะดวก และบางครั้งจะมีขี้เถ้าเลอะเทอะเปื้อนเสื้อผ้าอีกด้วย
ภาพที่ 6.1  เตารีดใช้ถ่านและลักษณะการใช้งาน
     จากเตารีดใช้ถ่าน ต่อมาได้พัฒนาเป็นเตารีดไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการสร้างความร้อน ตัวเตารีดทำจากวัสดุแผ่นเหล็กชุบโครเมียม ทำให้มีน้ำหนักเบา และมีปุ่มควบคุมความร้อน สามารถปรับอุณหภูมิที่ต้องการใช้เพื่อให้เหมาะสมกับเส้นใยของเนื้อผ้า
ภาพที่ 6.2  เตารีดไฟฟ้า

     นอกจากนี้ยังมีเตารีดไฟฟ้าที่ถูกพัฒนาในรูปแบบอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เตารีดไอน้ำแบบรีดแนวนอน แบบกดทับและแบบรีดแนวตั้ง
     เตารีดไอน้ำแบบรีดแนวนอน เนื่องจากการ รีดผ้าแบบเดิม ต้องพรมน้ำลงบนผ้าก่อนรีด เพื่อเป็นการลดเวลาในการพรมน้ำและทำให้รีดผ้าเรียบได้เร็วขึ้น จึงมีการพัฒนามาเป็นเตารีดไอน้ำที่สามารถพรมน้ำไปพร้อม ๆ กับการรีดผ้า มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับตัดไฟอัตโนมัติ และบางชนิดมีระบบควบคุมแรงดันไอน้ำ
ภาพที่ 6.3  เตารีดไอน้ำแบบรีดแนวนอน


     เตารีดไอน้ำแบบกดทับ ด้วยพื้นที่ของผิว หน้าเตารีดที่กว้าง ทำให้มีพื้นที่ในการรีดมากกว่าเตารีดแบบทั่วไป จึงช่วยลดเวลาในการรีดผ้าได้ เตารีดชนิดนี้มีกลไกของคันโยกที่ทำให้เกิดแรงกดทับบนเนื้อผ้าเพื่อให้ผ้า เรียบ มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบควบคุมแรงดันของไอน้ำ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ตัดไฟอัตโนมัติ
ภาพที่ 6.4  เตารีดไอน้ำแบบกดทับ

     เตารีดไอน้ำแบบรีดแนวตั้ง เป็นเตารีดที่ใช้ความร้อนจากไอน้ำพ่นใส่ผ้าที่ยับย่นให้คลายตัว มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบควบคุมแรงดันของไอน้ำ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ตัดไฟอัตโนมัติ สะดวกต่อการรีดผ้าที่ไม่สามารถถอดรีดในแนวนอนได้ เช่น ผ้าม่านติดราง
ภาพที่ 6.5  เตารีดไอน้ำแบบแนวตั้ง

     จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ามีการนำระบบไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งกลไกและการควบคุมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเตารีดให้ใช้งานได้สะดวก และมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับสิ่งของเครื่องใช้อื่น ๆ ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด เช่น กระติกน้ำร้อน พัดลม หม้อหุงข้าว โคมไฟ นาฬิกา ฯลฯ

ที่มาของเครื่องคิดเลข

ที่มาของเครื่องคิดเลข

          เครื่องคิดเลข  เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการคำนวณของมนุษย์   ปัจจุบันนี้เวลาทุกวินาทีแสนจะมีค่าเป็นอย่างมาก  ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่  "เครื่องคิดเลข"  จะกลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้ความสามารถในการคำนวณของมนุษย์ได้พัฒนารุดหน้าไปอย่างหน้าอัศจรรย์

 


         เมื่อมนุษย์รู้จักการคิด รู้จักการนับ ก็เริ่มมีความพยายามหาวิธีการ ในการนับของตัวเอง โดยครั้งแรกก็ใช้นิ้วมือช่วยในการนับ เมื่อนิ้วมือเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอสำหรับการนับ  ก็พยายามคิดหาอุปกรณ์อย่างอื่น มาแทน โดยเริ่มนับก้อนหิน ก้อนกรวด ปมเชือก เปลือกหอยต่อมาความคิดของมนุษย์ก็มีพัฒนาการขึ้น รู้จักคิดในสิ่งที่ยากและซับซ้อนการนับมากและต่อเนื่องขึ้น  เขาจึงหาวิธีที่จะทำการรวบรวมการนับของเขาไว้ด้วยกัน ก็หาวิธีใหม่โดยการใช้วิธีการจดบันทึกสิ่งของ แรกเริ่มโดยการขีดบนพื้นดิน ต่อมาก็ใช้บันทึกลงบนกระดาษ

 

 ลูกคิด

          ย้อนกลับไปตั้งแต่วันที่มนุษย์ใช้แค่นิ้วทั้งสิบในการนับคำนวนเลข จนมาถึงยุคที่คนจีนเริ่มคิดประดิษฐ์ ลูกคิด ขึ้นมาช่วย หรือที่ในประเทศญี่ปุ่นเรียกกันว่า โซโรบัง  เป็นเวลานานกว่าร้อยปีกว่าให้หลัง ที่นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์นามว่า John Napier ที่ได้เริ่มคิดค้นการทำเครื่องหมายบนกระดูกหลายๆแท่ง และเริ่มใช้การจัดเรียงตำแหน่งคงที่เพื่อช่วยในการคำนวณ

 

วิธีการคำนวณโดยใช้กระดูกนี้นั้นมีชื่อเรียกว่า Napier’s Bones ตาม ชื่อของผู้คิดค้น และต่อมาได้มีการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งเป็น ไม้บรรทัดคำนวณ แต่เครื่องมือเหล่านี้นั้นไม่ได้มีฟังก์ชั่นที่ซับซ้อนอะไร แต่เขาก็เก่งมากจนสามารถคิดค้นสูตรการหา Logarithm ขึ้นมาได้

  Napier’s Bones

และต่อมา  วิลเลียม ออกเกด (Willium Ougtred)  นักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษ ได้ผลิต ไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rule) เพื่อช่วยในการคูณ  ซึ่งนิยมใช้กันมากในงานด้านวิศวกรรมและงานด้านวิทยาศาสตร์ 

 

 Willium Ougtred ผู้ผลิตไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rule)

       จนกระทั่งนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ  เบล์ส ปาสคาล (Blaise Pascal)  ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องคิดเลขที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับเครื่องคิดเลขที่เราใช้กันทุกวันนี้

         
เนื่องจากเครื่องคิดเลข นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่ และยังมีต้นทุนในการผลิตไม่สูงเหมือนสิ่งประดิษฐ์ขนาดใหญ่แบบสิ่งประดิษฐ์ ชิ้นใหญ่อื่น ๆ  เช่นเครื่องบิน หรือ คอมพิวเตอร์ จึงได้มีนักประดิษฐ์หลายคนพยายามที่จะประดิษฐ์เครื่องคิดเลขให้สมบูรณ์มาก ยิ่งขึ้น
 
 
 Arithmometer Machine
         จากนั้นหลายร้อยปี วิวัฒนาการก็เดินทางต่อมาเรื่อย ๆ William Seward Burroughs เขาได้ประดิษฐ์เครื่องมือในการคำนวณ ขึ้นมาเป็นครั้งแรก และยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในปี 1885 สำหรับ 'Calculating Machine' ซึ่งได้สิทธิบัตรในปี 1888 และได้สร้างระบบการคำนวณสำหรับธนาคารในยุคนั้นขึ้นมาต่อมาหลังจากวิลเลี่ยม เสียชีวิตไปแล้วบริษัทของตระกูลเขาก็ยังคงพัฒนาระบบการคำนวณที่ซับซ้อนมาก ขึ้นเรื่อย ๆ
 
 
 สิทธิบัตร เครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก ของ Burroughs
 
 
 
    เครื่อง คิดเลข  เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนามาจนหลายยุค  หลายสมัยแล้ว  การได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่  จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ แม้จะเป็นเพียงแค่ความคิดเล็กน้อยก็ตาม

อาหารท้องถิ่นของญี่ปุ่น

                 อาหารท้องถิ่นของญี่ปุ่น 

ซูชิ

ซูชิเป็นอาหารที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ทั้งนิกิริซูชิหรือข้าวคลุกน้ำส้มสายชูปั้นเป็นก้อนขนาดพอคำหน้าซีฟู้ดสดๆ ตามฤดูกาล ไปจนถึงจิราชิซูชิหรือข้าวพร้อมส่วนผสมต่างๆ ที่เสิร์ฟมาในจาน ซูชิที่ดูสวยงามเป็นประเพณีของญี่ปุ่นที่ดึงดูดผู้คนทั่วโลก

ชินโตมิซูชิ (กินซ่า) (ภาษาอังกฤษ)

 


อุเมะงะโอกะ ซูชิ โนะ "มิโดริ โซฮอนเตน" (ภาษาญี่ปุ่น)

 


โซบะ

โซบะถือเป็นอาหารที่ทานได้ทุกวันมาตั้งแต่กลางสมัยเอโดะ และเป็นรสชาติท้องถิ่นที่สำคัญของโตเกียว และเป็นอาหารเพียงไม่กี่ชนิดที่ผู้คนยอมให้รับประทานเสียงดังได้ เชื่อกันว่าการดูดอากาศไปพร้อมๆ กับการดูดเส้นเข้าปากเป็นการเพิ่มความหอมของกลิ่นเส้นโซบะ


ยูซุย (โจฟุ) (ภาษาญี่ปุ่น)

ริคิวอัน (นิฮมบาชิ) (ภาษาญี่ปุ่น)

 


มอนจายากิ

มอนจายากิทำจากแป้งผสมโรยหน้าด้วยกะหล่ำปลีหั่นฝอยและส่วน ผสมอื่นๆ แล้วปรุงให้สุกบนกระทะแบน ร้านอาหารกว่า 60 แห่งบนถนนซึกิชิมะซึ่งมีร้านมอนจาเรียงรายมีมอนจาให้เลือกมากมายหลายแบบ ตั้งแต่มอนจาซีฟู้ดไปจนถึงมอนจายากิที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ


มุงิฮอนเตน (ซึกิชิมะ) (ภาษาญี่ปุ่น)

คุระ (ซึกิชิมะ) (ภาษาญี่ปุ่น)

 


ฟุกะงะวะเมชิและฟุกะงะวะดง

ฟุกะงะวะเมชิเป็นข้าวที่เสิร์ฟในชามราดด้วยสตูว์มิโสะใส่ หอยอาซาริและต้นกระเทียมญี่ปุ่นหั่น ในตอนแรกอาหารชนิดนี้เป็นอาหารจานด่วนสำหรับชาวประมงที่ง่วนกับการทำงานใน ย่านฟุกะงะวะใกล้ปากแม่น้ำสุมิดะงะวะซึ่งมีการเก็บหอยอาซาริกันมากในสมัยเอ โดะ


ฟุกะงะวะ กะมะโช (คิโยสึมิ-ชิระกะวะ)


โดโจนาเบะ/ยะนะงะวะนาเบะ

โดโจนาเบะเป็นปลาโดโจที่ปรุงรสด้วยซุปวะริชิตะรสโชยุปรุง ให้สุกในหม้อก้นตื้น เสิร์ฟพร้อมต้นกระเทียมหั่นหากต้องการ ส่วนยะนะงะวะนาเบะเป็นปลาโดโจปรุงในหม้อก้นตื้นเช่นเดียวกันแต่ปรุงด้วยราก โกะโบฝานบางๆ และไข่

เรียวโกกุ โดเซฮุ คิเคียวยะ (เรียวโกกุ) (ภาษาญี่ปุ่น)



จังโกะนาเบะ

จังโกะนาเบะทำจากไก่และผักต่างๆ ตามฤดูกาลนำมาปรุงในหม้อ นาเบะชนิดนี้เดิมทีเป็นอาหารที่เตรียมให้นักมวยปล้ำซึ่งแต่ละค่ายก็มีสูตร ของตัวเอง และได้รับความนิยมในหมู่ผู้คนทั่วไปในเวลาต่อมา

อาหารพื้นเมืองชาวเกาะ

ชาวเกาะอิซุและโองะซะวะระนำอาหารทะเลมากมายมาทำอาหารหลาก หลายชนิด ไม่ใช่แค่ซาชิมิแต่ยังนำมาย่างถ่าน นึ่ง และนำมาปรุงกับซุปมิโสะด้วย ชิมะซูชิทำจากปลาที่จับได้ในบริเวณหมู่เกาะและนำไปหมักในโชยุเพื่อเป็นการ ถนอมอาหารในอากาศที่อบอุ่น ขั้นตอนนี้เรียกว่าการทำซึเกะ ข้าวปรุงรสหวานนิดๆ และมีรสชาติเข้มข้น เนื่องจากบนเกาะหาวาซาบิได้ยาก จึงใช้มัสตาร์ดคาราชิหรือพริกโทงะระชิแทน

ชิมะซูชิ (ภาษาอังกฤษ)

อาหารพื้นบ้านรสชาติพื้นเมืองของโตเกียวจากหมู่เกาะโตเกียว (ภาษาอังกฤษ)



อุนางิ (ปลาไหล)

การปรุงปลาไหลคาบายากิในแถบคันโตไม่เหมือนกับในแถบคันไซ สำหรับสไตล์คันโต จะหั่นปลาไหลด้านหลัง แล้วนำไปต้มเปล่าๆ จากนั้นก็นำไปนึ่ง ปรุงรส แล้วนำไปย่างอีกครั้ง มีตำนานว่าเนื่องจากสมัยเอโดะเป็นยุคที่ซามูไรเฟื่องฟู การผ่าปลาไหลด้านท้องถือเป็นโชคร้าย

มนุษย์ต่างดาว

มนุษย์ต่างดาว

 


          มนุษย์ต่างดาว (อังกฤษ: alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิต ที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra ["เกินกว่า" หรือ "ไม่ใช่ของ"] และ terrestris ["อาศัยอยู่บนโลก, เป็นของโลก"]) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวก แบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความ ซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น  การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" 
  ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้น ฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน  นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ 
  
        นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิต นอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อ กับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะ กระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไป ด้วยดี
 
 

ภูมิหลัง

        สิ่งมีชีวิตเอเลียน เช่น แบคทีเรีย ได้รับการตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่าจะมีอยู่ในระบบสุริยะและตลอดทั่วไปทั้งเอกภพ สมมติฐานนี้ขึ้นอยู่กับขนาดที่กว้างใหญ่ (vast size) และกฎทางกายภาพที่สอดคล้องกันของเอกภพที่สังเกตได้ จากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานในเรื่องนี้ทำโดยนักวิทยาศาสตร์เช่นคาร์ล เซแกน และ สตีเฟน ฮอว์คิง, ก็ได้มีความเห็นพ้องกันว่าไม่น่าที่จะเป็นไปได้สำหรับการที่จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ที่อื่นนอกเหนือจากโลก  ข้อโต้แย้งนี้ได้ถูกรวบรวมอยู่ในหลักการพื้นฐานโคเปอร์นิคัส (Copernican principle), ที่ระบุว่าโลกไม่ได้ครอบครองตำแหน่งอยู่อย่างโดดเดี่ยวในจักรวาล, และหลักความธรรมดาสามัญ (mediocrity principle) ซึ่งถือว่าไม่มีอะไรพิเศษเกี่ยวกับชีวิตบนโลก  คุณสมบัติทางเคมีของชีวิตอาจจะเพิ่งเริ่มเมื่อไม่นานมานี้หลังจากที่เกิด บิ๊กแบงเมื่อประมาณ 13.8 พันล้านปีที่ผ่านมา, ในช่วงยุคที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เมื่อจักรวาลมีอายุได้เพียง 10 ถึง 17 ล้านปี ชีวิตอาจจะปรากฏเกิดขึ้นมาได้อย่างเป็นอิสระในสถานที่หลายแห่งทั่วทั้ง จักรวาล หรือมิฉะนั้นชีวิตอาจก่อตัวขึ้นได้อย่างไม่บ่อยครั้งนักแล้วจึงได้แพร่ กระจายออกไปในระหว่างดาวเคราะห์ที่มีความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ คือ สภาพที่เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ผ่านวิธีการแบบแพนสเพอร์เมีย (panspermia) หรือ เอ็กเซลแเจแนซิส (Exogenesis) ซึ่งมีวิธีการที่มาจากสมมติฐานที่คล้าย ๆ กัน คือ เป็นสมมติฐานที่ว่าชีวิตที่มีอยู่ทั่วทั้งจักรวาลนั้นได้ถูกแพร่กระจัด กระจายไปสู่ห้วงอวกาศและดาวเคราะห์ต่าง ๆ โดยอุกกาบาต, ดาวเคราะห์น้อย, ดาวหาง, และ วัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ (planetoids)  ในกรณีใด ๆ โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ที่ซับซ้อนที่จำเป็นสำหรับชีวิตอาจจะเกิดขึ้นในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดของเม็ดฝุ่นคอสมิคที่ล้อมรอบดวงอาทิตย์ก่อนที่จะมีการก่อตัวขึ้นของโลกโดยที่ได้มีการศึกษาโดยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์  ตามที่ได้อ้างอิงจากการศึกษาถึงสิ่งเหล่านี้, กระบวนการเดียวกันนี้ยังอาจเกิดขึ้นได้กับดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ที่มีดาวเคราะห์อยู่ในบริเวณโดยรอบ (โปรดดูเพิ่มเติมที่โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ต่างดาว (Extraterrestrial organic molecules)) สถานที่แนะนำที่ชีวิตอาจจะได้มีการพัฒนาขึ้น ได้แก่ ดาวเคราะห์เช่น ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดี,  ดวงจันทร์ไททันและเอนเซลาดัสของดาวเสาร์  ในเดือนพฤษภาคม ปี 2011, นักวิทยาศาสตร์นาซ่ารายงานว่าดวงจันทร์เอนเซลาดัส "เป็นดาวเคราะห์น้องใหม่ที่มีแนวโน้มที่น่าสนใจที่มีสภาพที่เหมาะสมต่อการ เป็นแหล่งที่เอื้ออิงอาศัยอยู่ได้สำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มี ความเป็นไปได้มากที่สุดนอกเหนือจากโลกของเราในระบบสุริยะเท่าที่เรารู้จัก กันดีที่สุดในตอนนี้"

    นับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งเสนอแนะส่งเสริมต่อแนวความคิดที่ว่า "เขตอาศัยได้" (habitable zone) เป็นอาณาบริเวณที่ที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อาจจะสามารถพบเจอได้