วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

ธนบัตรไทยแบบต่างๆ

​ธนบัตรไทยแบบต่างๆ  
   แบบที่ ๑  เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๔๕ ในรัชกาลที่ ๕ จนถึงรัชกาลที่ ๖

   แบบที่ ๒ เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลที่ ๗​

      แบบที่ ๓ เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๗ ในรัชกาลที่ ๗ จนถึงรัชกาลที่ ๘

      แบบที่ ๔ ( โทมัส ) ทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ ในรัชกาลที่ ๘​​

      แบบที่ ๔ ( กรมแผนที่ ) เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕​

      แบบที่ ๕ เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕

      แบบที่ ๖ 
เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘

      แแบที่ ๗ เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘​

      แบบที่ ๘ เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ ในรัชกาลที่ ๙ 

      แบบที่ ๙ เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๑ 

      แบบที่ ๑o  เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๑

      แบบที่ ๑๑ 
      แบบที่ ๑๒ 
     แบบที่ ๑๓
     แบบที่ ๑๔
     แบบที่ ๑๕
    แบบที่ ๑๖

ขนมไทยชาววัง

ขนมไทยชาววัง



ขนมชาววัง

         ขนมชาววังใช้ความละเมียดละไม ประดิดประดอยอยู่หลายขั้นตอน คนสมัยก่อนนิยมส่งลูกหลานที่เป็นผู้หญิงเข้าไปในวัง เพื่อถวายตัวรับใช้เจ้านายในวังตามตำหนักต่างๆ เพื่อฝึกฝนงานฝีมือด้านต่างๆ เช่น งานเย็บปักถักร้อย จัดดอกไม้ ทำอาหาร หากค้นคว้าตามตำราเก่าๆ จะพูดถึงขนมในวังแท้ๆ อยู่ไม่กี่อย่าง และแต่ละอย่างต้องใช้ความละเอียดประณีต พิถีพิถันทุกขั้นตอนการทำ



เส้นทางขนมชาววัง

  
         หลายคนที่เคยมาเที่ยวเกาะเกร็ดแล้ว หรือใครที่ยังไม่เคยมาเที่ยวที่เกาะเกร็ด ก็คงสนใจและสงสัยว่า “เส้นทางขนมชาววัง” คืออะไร??? ถ้าอยากรู้ เรามีคำตอบให้ค่ะ
     เส้นทางขนมชาววัง เป็นเส้นทางที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้ และศึกษาเรื่องราวขนมไทยสูตรต้นตำรับชาววัง จากผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหนเลยค่ะ เป็นชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในเกาะเกร็ด แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่า อ้าวที่นี่เป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายมอญ แล้วทำไมถึงทำขนมไทยเป็นล่ะ

    ในเรื่องนี้ เราได้รับคำตอบมาว่า ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาก่อฤกษ์พระอุโบสถของวัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาใหม่นั้น ในช่วงที่ ร.5 เสด็จก็จะมีแม่ครัวในวังหลวงตามเสด็จมากับท่านด้วย ซึ่งในช่วงที่ท่านมาประทับที่เกาะเกร็ด แม่ครัวในวังก็จะเรียกให้ชาวบ้านที่อาศับอยู่ในเกาะเกร็ดเข้าไปช่วยทำครัวด้วย ดังนั้นชาวบ้านชาวเกาะเกร็ด จึงได้ร่ำเรียนการทำขนมไทยสูตรชาววังมาตั้งแต่บัดนั้น และได้นำมาถ่ายทอดให้กับลูกหลาน จนมีการสืบทอดกันอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ไงล่ะค่ะ
สำหรับเส้นทางขนมชาววังนั้นก็เกิดขึ้นจากการรวบรวมบ้านของสมาชิก กลุ่มขนมมงคลเกาะเกร็ด  และบ้านอื่นๆ ที่ก็ทำขนมหวาน, ขนมไทย และขนมมอญ สูตรต้นตำรับดั้งเดิม

ขนมหม้อตาล



   ข
นมนี้ก็เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่จะใช้กันในงานแต่งคะมักจะเรียกว่า หม้อเงิน หม้อทองคะ ขนมชนิดนี้มีรสหวานกำลังดีที่พอได้ชิมจะได้รสของแป้งกันน้ำตาลที่ลงตัว

ขนมพระพาย


    เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในงานแต่งงาน  ขนมนี้ทำมาแป้งนวดกับน้ำมะลิและสอดไส้ซึ่งไส้ของขนมชนิดนี้มีรสหวาน

ขนมตะลุ่ม


    ขนมนี้จะมียุ2ส่วนคะ ส่วนตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้าย่ายม่อม แป้งมันสำปะหลัง น้ำปูนใสและหางกะทิ และนำไปนึ่ง ส่วนตัวหน้าทำจาก กะทิและน้ำตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทบนตัวขนมนำไปนึ่ง ตอนรับประทานควรทานพร้อมกันเพราะมันจะให้รสชาติที่ลงตัว

ขนมบุหลันดั๋นเมฆ


   ขนมชนิดนี้จะเป็นขนมที่ชาววังคิดขึ้นมา ให้มีสีสันเปลียบแบบบทเพลงของไทย บุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2  เมื่อรับประทานจะให้รสหมอหวานของดอกอัญชัน กับ กลิ่นน้ำตาลมะพร้าว

ขนมเกสรชมพู

   ขนมชนิดนี้มองครั้งแรกอาจจะคิดว่สนี้คือ ข้าวเหนียวแก้ว แต่ถ้ามองดีดีจะเห็นข้อแตกต่างกันตรงที่ความแข็งกะด้างของข้าวเหนียวคะ  ส่วนเรื่องรสชาติขนมชนิดนี้จะมีความมันและหอทไปในตัวของมะพร้าวและยังมีความหวานที่ไม่เหมือนใคร

ขนมจี้้

    เป็นขนมไทยชาววังที่หากินไม่ได้แล้วในยุคนี้ ส่วนผสมทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมกับแป้งข้าวเจ้า แล้วนวดกับกะทิ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ แบนๆ มีไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยวผสมกับงาคั่ว จากนั้นคลุกกับนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุกแล้ว รสหวานและมีกลิ่นหอม ว่ากันว่าเวลาหยิบใส่ปากแล้วต้องรีบหุบปาก มิเช่นนั้นนวลแป้งที่คลุกขนมจะฟุ้ง

ขนมทองเอก


     ขนมไทยที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่แดง และกะทิ กวนจนข้น แล้วนำใส่แม่พิมพ์ให้ได้รูปตามที่ต้องการ จากนั้นจึงแคะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำมาอบด้วยเทียนอบ
ขนมทองเอกในสมัยโบราณนั้นได้มีการนำทองคำเปลวมาตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มาประดับไว้ด้านบนของขนมทองเอก โดยใช้วิธีการวางแผ่นทองคำเปลววางไว้บนแม่พิมพ์ก่อนเทขนมทองเอกลงในแม่พิมพ์ แต่ปัจจุบันไม่มีการนำทองคำเปลวมาตกแต่งขนมทองเอก เนื่องจากทองคำเปลวเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับประทาน

ขนมอาลัว


    นำมะพร้าวขูดไปผสมกับน้ำลอยดอกมะลิ จากนั้นนำไปคั้นจนได้น้ำกระทิ  นำแป้งสาลี, แป้งถั่วเขียว และแป้งมันร่อนผสมกัน  นำน้ำกะทิผสมกับแป้งและน้ำตาล คนจนละลายเข้ากันดี จึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง เสร็จแล้วนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง ใส่สีผสมอาหารลงไป และกวนเรื่อยจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี (แป้งจะมีลักษณะเหนียวใสๆ ถ้านำไปหยอดในน้ำ แล้วแป้งยังคงรูปอยู่ก็เป็นอันใช้ได้)  นำน้ำแป้งที่ได้ตักใส่ถุงบีบ แล้วจึงบีบลงในถาดที่ทาเนยขาวบาง ๆ แล้วจึงนำไปตากแดดสัก 2 - 3 แดด เสร็จแล้วนำไปอบควันเทียน  จัดใส่จานเสริฟได้ทันที หรือใส่กระปุกมิดชิดเก็บไว้รับประทานภายหลังได้ 







ประวัติ ซามูไร


ประวัติ ซามูไร
     ซะมุไร (ญี่ปุ่น: , ภาษาไทยนิยมทับศัพท์ว่า "ซามูไร" ?) แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซะมุไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซะมุไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง

   ในครั้งนี้ที่เราจะมาพูดถึงกันก็คืออาถรรพ์ของดาบซามูไรชั้นยอดที่มีอยู่จริงและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันอย่างดาบอาถรรพ์ของทั้ง 3 ตระกูลคือ ตระกูลมาซามุเนะ (正宗) ตระกูลมุรามาสะ (村正) และตระกูลโยชิมัทสึ (吉松)
ซึ่งดาบของทั้งสามตระกูลนี้ก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันอีกด้วย ว่ากันว่าเรื่องอาถรรพ์ของดาบพวกนี้นั้นคือมนตราหรือพลังอำนาจลึกลับที่มีทั้งดีและไม่ดีปนกันไป ที่ผู้สร้างนั้นใช้ทั้งแรงกายและแรงใจใส่ลง
ไปเมื่อครั้งตีดาบ จึงมีความแกร่ง ทน และคม ยากที่จะหาดาบใดมาเทียบได้…..



   ดาบสั้นของตระกูลมาซามุเนะ อยู่ที่ Tokyo National Museumตระกูลมาซามุเนะนั้นเป็นช่างตีดาบมาตั้งแต่สมัยคามาคุระ (鎌倉時代) ที่ปกครองโดยรัฐบาลทหารของตระกูลโฮโจ ต่อมาคนในตระกูลมาซามุเนะที่เป็นลูกศิษย์ของเจ้าสำนักก็แยกตัวออกไปเปิดสำนักตีดาบอีกสำนักหนึ่งชื่อว่ามุรามาสะ เจ้าสำนักมุรามาสะ (ลูกศิษย์ของเจ้าสำนักมาซามุเนะ) อยากให้อาจารย์ของตนเองได้ประจักษ์ในฝีมือการตีดาบของตน จึงได้เกิดการท้าประลองตีดาบที่ดีที่สุดระหว่างสองสำนักขึ้น
มาซามุเนะได้ตีดาบที่มีชื่อว่า 柔らかい手 หรือ tender hands ใช้เหล็กผสมคาร์บอน 3 ชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นนั้นมีปริมาณคาร์บอนต่างกัน ทำให้ได้ดาบที่คมแข็งมาก ตัดไม้แม้กระทั่งเหล็ก
มุรามาสะตีดาบที่มีชื่อว่า 十千夜寒 หรือ 10,000 Cold Nights ซึ่งตีด้วยความเคียดแค้นและความริษยา ทำให้ดาบเกิดความคมแบบเหนือธรรมชาติ


     เมื่อตีดาบกันเสร็จแล้วทั้งคู่จึงมาเจอกันที่ลำธารและปักดาบลงไปในน้ำโดยหันด้านคมสวนกระแสน้ำ เมื่อมีใบไม้ถูกน้ำพัดผ่านมาและได้สัมผัสผ่านดาบมุรามาสะก็จะขาดเป็นสองท่อนเสมอ ทำให้มุรามาสะภูมิใจในดาบของเขามาก ซึ่งต่างจากดาบมาซามุเนะที่เมื่อใบไม้ลอยผ่านคมดาบก็จะไม่เกิดอันตรายใดๆเลย เนื่องมาจากดาบของมุรามาสะนั้นมีไอสังหารออกมาและคร่าทุกสิ่งที่ขวางหน้าแม้แต่สิ่งที่ไม่มีชีวิต แบบระรานไปเรื่อย


    ว่ากันว่าดาบมาซามุเนะนั้นจะทำให้ผู้ที่ถือรู้สึกสงบและมีสมาธิ แต่ดาบมุรามาสะจะทำให้ผู้ถือเกิดความคึกคะนองและบ้าคลั่ง ผู้ครอบครองจะถูกกินวิญญาณทีละนิดๆเพื่อนำมาเป็นพลังของดาบ บ้างก็ประสบภัยพิบัติเช่นชินเก็น ทาเคดะ (Shingen Takeda : 武田信玄) เจ้าของกระบวนรบลมป่าไฟภูเขา (FuRinKaSan : 風林火山) แม้ว่าจะชนะในการรบอยู่เรื่อยมาก็เกิดการเจ็บป่วยจนตาย และตระกูลก็พังพินาศในสมัยของลูกชายตนเอง

     นับจากนั้นเป็นต้นมาดาบของตระกูลมุรามาสะและตระกูลมาซามุเนะก็เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วทั้งแผ่นดิน โดยผู้ที่จะได้ครอบครองดาบจากสองตระกูลนี้จะต้องเป็นถึงชนชั้นสูงอย่างจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ และโชกุน หรือต่ำสุดก็ต้องเป็นไดเมียวตระกูลใหญ่ๆเท่านั้น ส่วนพวกผู้ครองเมืองหรือซามูไรธรรมดาจะไม่มีสิทธิ์ได้ถือครองเลย แต่ว่า…ดาบของสองตระกูลนี้กลับมีพลังอาถรรพ์ที่น่ากลัวมากมาย ซึ่งเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าผู้ใดที่ได้จับหรือครอบครองดาบของตระกูลมาซามุเนะและมุรามาสะนั้น จะรู้สึกถึงใบดาบในฝักที่มีอาการสั่นเร่าๆพร้อมกับเสียงร้องหวีดแหลมเล็กเบาๆในหูราวกับว่ามันมีชีวิตจริง อาจจะเป็นไปได้ว่าเจ้าดาบอาถรรพ์นี้กำลังร้องเรียกให้ผู้เป็นนายดึงมันออกมาจากฝักดาบที่เป็นพันธนาการ ให้พุ่งออกมาวาดลวดลายล้างผลาญชีวิตศัตรูหรือแม้กระทั่งเจ้านายของมันเอง เพราะใครก็ตามที่ได้ครอบครองมันก็จะต้องมีเหตุให้หลั่งเลือดหมู่ศัตรูหรือแม้แต่เลือดของตนเองแทบทุกคน


    ดาบของตระกูลมุรามาสะ อยู่ที่ Tokyo National Museumส่วนคนดังในประวัติศาสตร์ที่ว่ากันว่าถือดาบอาถรรพ์ก็คือ อิเอยาสุ โทกุกาวะ (Ieyasu Tokugawa : 徳川家康) อาวุธคู่กายของอิเอยาสุก็คือหอกยาริ ซึ่งเป็นผลงานของตระกูลมุรามาสะ (ตระกูลมุรามาสะนั้นเป็นช่างตีดาบประจำตระกูลโทกุกาวะ) เมื่อใดที่อิเอยาสุนำหอกนี้ออกมาฝึกวิชาการต่อสู้ ถ้าคนรอบข้างไม่ได้รับบาดเจ็บเสียเลือด ก็จะถูกหอกตัวเองทิ่มแทงให้เกิดแผลอยู่เสมอๆ นอกจากนี้แล้วอิเอยาสุได้สูญเสียสหายร่วมรบไปมากเนื่องจากดาบมุรามาสะนั่นเอง ลูกหลานของตระกูลโทกุกาวะจึงจำขึ้นใจว่าถ้าไม่จำเป็นจะไม่พกดาบของตระกูลมุรามาสะเด็ดขาด และอิเอยาสุผู้เป็นโชกุนคนแรกของสมัยเอโดะจึงได้ออกคำสั่งห้ามซามูไรทุกคนพกดาบของตระกูลมุรามาสะที่มีชื่อเสียงในฐานะของอาวุธปีศาจ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความบ้าคลั่งและกระหายเลือด จนมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า ถ้าดาบของมุรามาสะไม่ได้ดื่มเลือดจะไม่ยอมคืนฝักเด็ดขาด


      อีกหนึ่งดาบที่เรายังไม่ได้พูดถึงเลยก็คือ ดาบของตระกูลโยชิมัทสึ (吉松) ว่ากันว่าดาบของตระกูลโยชิมัทสึนั้นเป็นดาบผู้พิทักษ์ ซึ่งมีเรื่อเล่าว่าหลังจากที่อิเอยาสุพ่ายแพ้ต่อคัทสุโยริ ทาเคดะ (Katsuyori Takeda : 武田勝頼) ในศึกที่ริมแม่น้ำเทนริน ก็ได้หลบหนีไปยังหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง ด้วยความอับอายอิเอยาสุจึงเตรียมพร้อมที่จะฮาราคีรีตัวเองด้วยดาบวากิซาชิและดาบทาชิของตนเองที่ถูกตีขึ้นโดยตระกูลโยชิมัทสึ

    ในขณะที่กำลังจ้วงดาบเข้าไปที่ท้องของตนเองนั้นใบดาบกลับพลิกหลบ อิเอยาสุคิดว่าแกนดาบเล่มนี้คงจะหลวมแน่ๆจึงบิดใบดาบเข้าที่แล้วนำครกเหล็กบดยามาลองดาบ ปรากฎว่าดาบกลับแทงทะลุครกได้โดยง่าย อิเอยาสุจึงว่าดาบมันก็ปกตินี่นาแล้วก็จะดึงออกมาจากครกแต่ไม่ว่าจะดึงอย่างไรดาบก็ยังติดแน่นฝังอยู่ในครกนั้น หลังจากนั้นไม่นานก็มีกลุ่มของลูกน้องเข้ามาพบอิเอยาสุกำลังปล้ำอยู่กับดาบที่ติดครกเหล็ก จึงรีบเข้าไปห้ามทันทีเพราะคิดว่าอิเอยาสุกำลังจะฆ่าตัวตาย แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อลูกน้องที่สนิทคนหนึ่งกลับดึงดาบออกมาได้โดยง่าย เมื่อดาบถูกดึงออกมาแล้วอิเอยาสุจึงถูกกลุ่มลูกน้องตนเองส่งขึ้นม้ากลับไปยังดินแดนของตนเองทันที เนื่องจากว่าข้าศึกกำลังตามมาทันแล้ว ระหว่างควบม้าไปในใจก็คิดถึงเรื่องดาบว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้


    หลังจากศึกที่แม่น้ำเทนริน อิเอยาสุก็พกดาบคู่ของตระกูลโยชิมัทสึไว้ตลอด ไม่ว่าจะออกศึกครั้งใดก็สามารถปราบศัตรูได้หมด จนสามารถไต่เต้าขึ้นมาเป็นโชกุนของประเทศญี่ปุ่นได้ในที่สุด นับแต่นั้นเป็นต้นมาเหล่าทหารและสมาชิกของตระกูลโทกุกาวะทุกคนล้วนแต่พกดาบของตระกูลโยชิมัทสึด้วยกันทั้งนั้น
อาจเพราะความดีที่อิเอยาสุได้เคยทำไว้ หรือเพราะแรงอาถรรพ์แห่งการพิทักษ์รักษาของดาบตระกูลโยชิมัทสึก็ไม่อาจทราบได้ แต่มันสามารถทำให้ตระกูลโทกุกาวะปกครองแผ่นดินญี่ปุ่นได้อย่างยาวนานถึง 250 ปีเลยทีเดียว


ประวัติ นักซามูไร

       ประวัติศาสตร์ ของนักสู้ซามูไร เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 11 เมื่อรัฐบาลฟูจิวาราขุนนางศักดินาอ่อนแอลง จึงไปขอความค้ำจุนจากมินาโมโตกับทาอิรา ซึ่งเป็นเผ่านักรบที่เข้มแข็ง หากทว่าทั้งสองเผ่านี้ก็ไม่ถูกกันและเกิดการปะทะกันเนืองๆ มิหนำซํ้ายังเป็นนักรบเถื่อนที่ไร้วินัย สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้าน ดังมีบันทึกหนึ่งจารึกไว้ว่า   
   
         นักสู้หลายคนถือโอกาสทำการตามใจชอบโดยไม่กลัวเกรงกฎหมาย ซ่องสุมกำลังข่มขู่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองตลอดจนราษฎร ยํ่ายีลูกเมียชาวบ้าน ตีชิงเอาสัตว์เลี้ยงไปจากชาวไร่ชาวนา จนไม่อาจทำการเกษตรได้ เที่ยวเดินถือธนูและลูกศรเพ่นพ่านไปทั่วราวกับโจรร้ายเมื่อชาวบ้านไม่อาจพึ่งพาให้รัฐคุ้มครองได้ จึงสามัคคีกันจัดตั้งกองกำลังขึ้นรับมือ โดยรวบรวมจากเหล่าเพื่อนบ้าน และลูกหลาน แต่แรกนั้นก็เป็นกองกำลังเล็กๆ มีอาวุธตามมีตามเกิด เพราะตระกูลฟูจิวารา ผู้ปกครองประเทศ คอยกดดันอยู่ พวกชาวบ้านจึงหาทางออกอีกครั้ง ด้วยการไปขอพึ่งบารมีจากขุนนางที่มีอำนาจ ซึ่งเหล่าขุนนางก็พอใจ ที่มีกองกำลังมาสนับสนุน จึงเลี้ยงดูนักสู้เหล่านี้อย่างดี จนมีนักสู้เกิดขึ้นมากมายในนาม "ซามูไร" ซึ่งแปลว่า "ผู้รับสนอง"

  
  
  

    

ประเภทของตุ๊กตาไทย

ประเภทของตุ๊กตาไทย

ประเภทของตุ๊กตาไทย
         ตุ๊กตาไทยมีหลายประเภท จำแนกตามจุดมุ่งหมายของการใช้ดังนี้

         1. ตุ๊กตาที่ใช้ในพิธีกรรม ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรม ต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตาศาลพระภูมิ เป็นตุ๊กตาคนรับใ ช้ชายหญิง และช้างม้าตุ๊กตาชะนีสีเหลืองใช้ในพิธีทอดผ้าป่า เป็นต้น

         2. ตุ๊กตาสำหรับเด็กเล่น ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เด็กเล่นมักทำอย่างง่ายๆ จากวัสดุที่หาได้ใกล้ๆ ตัว
ตุ๊กตาบางกอกดอลล์ แสดงการเล่นขี่ม้าและตีวงล้อ

ตุ๊กตาบางกอกดอลล์  แสดงการเล่นขี่ม้าและตีวงล้อ

         3. ตุ๊กตาฝีมือ ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแสดงฝีมือทางศิลปะให้เด็กและผู้ชมได้ชมความงามอันประณีตละเอียดอ่ อน ผู้ประดิษฐ์ตุ๊กตาประเภทนี้นับว่าเป็นศิลปินที่ควรแก่การยกย่อง ตุ๊กตาฝีมือที่มีชื่อเสียงและมีคุณค่าทาศิลปวัฒนธรรม มีหลายลักษณะด้วยกัน ดังนี้

  • ตุ๊กตาชาววัง ศิลปินผู้ประดิษฐ์ คือ นางเฉ่ง สาครวาสี (สกุลเดิม สุวรรณโน)


  • ตุ๊กตาบางกอดอลล์ ศิลปินผู้ประดิษฐ์คือคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล เป็นตุ๊กตาตัวโขนตัวละครจากวรรณคดีและละครรำต่างๆ



  • ตุ๊กตาชาวบ้านอยุธยา ศิลปินนผู้ประดิษฐ์คือนางสาวสุดใจ เจริญสุข




  • ตุ๊กตาของนายจักรพันธุ์ โปษยกฤต เป็นตุ๊กตาที่แสดงศิลปวัฒนธรรมไทย






         4. ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นง่ายๆ ด้วยฝีมือชาวบ้าน
  • ตุ๊กตาเสียกบาล เป็นตุ๊กตาดินเผาเคลืบสมัยสุโขทัย
  • ตุ๊กตาแก้บน เป็นตุ๊กตาที่ประดิษฐ์ขึ้นหรือซื้อหามา “แก้บน” หลังจากการบนบานศาลกล่าว
  • ตุ๊กตากุมาร ส่วนมากจะเป็นตุ๊กตาเครื่องปั้นดินเผา ทำเป็นเด็กผู้ชายไว้จุก
  • ตุ๊กตานางกวัก ประดิษฐ์เป็นหญิงสาว แต่งตัวสวยงามสวมกระบังหน้า ท้าวแขนซ้ายและยกมือขวากวักไปข้างหน้า
         5. ตุ๊กตาอื่นๆ

ตุ๊กตาญี่ปุ่น (Nihon-ningyoo)

  • ตุ๊กตาญี่ปุ่น (Nihon-ningyoo)

  • เรื่องโดย : Azu’Nyan Prae
    เรียบเรียงโดย : ทีมงานโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น Jat
  •        ตุ๊กตาญี่ปุ่น (日本人形, Nihon-ningyoo) เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับชาวญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นงานฝีมือขั้นสูงที่มีความละเอียดอ่อน สะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงามของประเทศญี่ปุ่น ตุ๊กตาแต่ละตัวก็จะแสดงถึงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง ลวดลายหรือการแกะสลัก รวมทั้งการตกแต่งด้วยผ้านานาชนิดที่วิจิตรบรรจง ความเป็นมาของตุ๊กตาแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ยังมีความหลากหลาย วันนี้ Azu จะขอนำเสนอเกี่ยวคำในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในการเรียก “ตุ๊กตาญี่ปุ่น” ให้ทุกท่านได้รู้จักกันมากขึ้นค่ะ

    ตุ๊กตาฮินะ (ひな人形, Hina-ningyoo)
  •         ตุ๊กตาฮินะเป็นตุ๊กตาขนาดเล็กที่ประดับลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ มักจะนำเสนอการแต่งกายในชุดประจำราชสำนัก โดยการสวมใส่ชุดจักรพรรดินั้นมักจะอยู่ในช่วงยุคเฮอัน (Heian) ตุ๊กตาฮินะนิยมนำมาจัดในงานเทศกาลตามประเพณีของญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันว่า เทศกาลวันเด็กผู้หญิง (ひな祭り, Hina matsuri) ที่จัดขึ้นในวันที่ 3 เดือน 3 (มีนาคม) เป็นประจำของทุกปี แต่ละครอบครัวที่มีลูกสาวจะประดับไว้ในบ้านเรือนเพื่ออวยพรให้เด็กผู้หญิงเติบโตมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต
  • ตุ๊กตานักรบ (武者人形, Musha-ningyoo) / ตุ๊กตาเดือน 5 (五月人形, Gogatsu-ningyoo)
  •     ตุ๊กตานักรบเป็นตุ๊กตาที่สวมชุดเกราะประดับตกแต่งด้วยดาบหรือหมวกเหล็กนักรบ มักจะถูกนำมาจัดในวันที่ 5 เดือน 5 (พฤษภาคม) เป็นประจำของทุกปี หรือที่เรียกกันว่า เทศกาลวันเด็กผู้ชาย (こどもの日, Kodomo no hi) ครอบครัวที่มีลูกชายมักจะประดับตุ๊กตานักรบเพื่อขอพรให้เด็กผู้ชายเติบโตมีสุขภาพดี แข็งแกร่ง อาจหาญ เข้มแข็งเหมือนดั่งนักรบ
  • ตุ๊กตาฮากาตะ (博多人形, Hakata-ningyoo)
  •      ตุ๊กตาฮากาตะเป็นตุ๊กตาดินเผาที่ได้รับความนิยมมากในประเทศญี่ปุ่น เป็นผลิตผลพื้นเมืองจากเมืองฮากาตะ (博多市, Hakata-shi) จังหวัดฟุคุโอกะ (福岡県, Fukuoka-ken) ที่ปั้นด้วยดินเหนียวแล้วนำไปเผาไฟ จากนั้นจึงลงสีอย่างละเอียดและประณีตเสมือนของจริง ตุ๊กตาฮากาตะนั้นมีมาตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1601 เมื่อไดเมียว (大名, Daimyoo) ซึ่งก็คือขุนศึกสมัยศักดินาของสมัยญี่ปุ่นนั้น ได้ไปสร้างปราสาทไมซุรุ (福岡舞鶴城, Maizuru) อยู่ที่ฟุคุโอกะ ช่างทำตุ๊กตาและหน้ากากที่อยู่ในเมืองนั้นก็ได้มอบตุ๊กตาฮากาตะให้แก่ไดเมียว หลังจากนั้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1800 จึงเริ่มมีคนทำตุ๊กตาดินเผาสำหรับคนทั่วไปเพิ่มมากขึ้น จึงกลายเป็นต้นแบบของ ตุ๊กตาฮากาตะ (博多人形, Hakata ningyoo) ตั้งแต่นั้นมา ตุ๊กตาฮากาตะนั้นมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ ตุ๊กตาซูโม่ ตุ๊กตาคาบุกิ ตุ๊กตาเด็ก ตุ๊กตาผู้ใหญ่ และอื่นๆ แต่ตุ๊กตาประเภทนี้มักจะมีราคาแพงมาก 
  • กตาโคเคชิ (こけし人形, Kokeshi-ningyoo)
    ตุ๊กตาโคเคชิเป็นตุ๊กตาขนาดเล็กที่อาศัยเทคนิคการกลึงไม้แบบญี่ปุ่น ลักษณะของตุ๊กตาจะไม่มีแขนขา ศีรษะกลม ร่างกายเป็นทรงกระบอก เป็นงานฝีมือที่โชว์การวาดลวยลายบนลำตัวและใบหน้าของผู้หญิง เหมาะสำหรับใช้เป็นของที่ระลึก โดยตุ๊กตาโคเคชิแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ...
  • ตุ๊กตาโคเคชิแบบดั้งเดิม เป็นตุ๊กตาที่มีต้นแบบมาจากสมัยเอโดะ (Edo) เป็นผลิตผลพื้นเมืองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (東北地方, Toohoku chihoo) ลักษณะตุ๊กตาจะทำด้วยไม้ รูปแบบเรียบง่ายมีสีสันสดใส ส่วนใหญ่จะได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น


  • ตาโคเคชิแบบสร้างสรรค์
     เป็นตุ๊กตาที่ทำจากไม้เช่นกัน แสดงถึงจินตนาการที่อิสระ แต่มีลวดลายเฉพาะตัว รูปลักษณ์ก็ค่อนข้างทันสมัย

  • ตุ๊กตาโน (能人形, Noo-ningyoo)
  •                        ตัวอย่างตุ๊กตาโน
  •  
  •           หน้ากากละครโน                                          เวทีละครโน
  • ละครโน (能, Noo) กำเนิดขึ้นเมื่อสมัยมุโรมาจิ (Muromachi) เป็นศิลปะการแสดงสำหรับชนชั้นสูง ที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันอาจมีการปรับเปลี่ยนการแสดงให้เป็นที่นิยมกับผู้คนสมัยนี้มากขึ้น ละครโนก็เป็นศิลปะการแสดงที่ผู้แสดงต้องสวมหน้ากาก เพื่อประกอบการร่ายรำตามเนื้อร้อง จะมีความสวยงามด้านเครื่องแต่งกายและลักษณะท่าทาง ตุ๊กตาโนก็ได้ถ่ายทอดรูปแบบของเครื่องแต่งกายรวมถึงลักษณะท่าทางของตัวละครโนไว้ได้เสมือนจริงเช่นเดียวกัน
  • ตุ๊กตาหุ่นบุนราคุ (文楽人形, Bunraku-ningyoo)
  •                           ตัวอย่างตุ๊กตาหุ่นบุนราคุ
  • ตุ๊กตาหุ่นบุนราคุ เป็นตุ๊กตาที่ใช้ในการแสดงตุ๊กตาหุ่นเชิด เป็นศิลปะการแสดงสำหรับชนชั้นสูง และเป็นการแสดงเชิงละครที่มีชื่อเสียงในสมัยเดียวกับละครคาบุกิ (歌舞伎, Kabuki) แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับละครคาบุกิ การแสดงบุนราคุเริ่มต้นในสมัยมุโรมาจิ (Muromachi) และได้รับความนิยมมากในช่วงสมัยเอโดะ (Edo) ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในแถบโอซาก้า การแสดงหุ่นเชิดนั้น ตุ๊กตาหุ่นบุนราคุ 1 ตัว จะใช้คนเชิดถึง 3 คน เพื่อเชิดในส่วนศีรษะ บ่า ลำตัวและมือ
  • ตุ๊กตาโกโชะ (御所人形, Gosho-ningyoo)
  • ตุ๊กตาโกโชะเป็นตุ๊กตาเด็กผู้ชายเปลือย ผิวขาวเนียนละเอียด ศีรษะโต แสดงให้เห็นถึงลักษณะความน่ารักของเด็ก คำว่า โกโชะ (御所, Gosho) นั้นหมายถึง “วังจักรพรรดิ” ตุ๊กตาโกโชะนี้กำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยเอโดะ (Edo) ซึ่งเหล่าขุนนางในราชสำนักของนครเกียวโตมอบตุ๊กตาโกโชะให้แก่ไดเมียว (大名, Daimyoo) เพื่อเป็นของขวัญตอบแทน จึงเป็นที่มาของชื่อ ตุ๊กตาโกโชะ (御所人形, Gosho-ningyoo) ปัจจุบันตุ๊กตาโกโชะนั้นก็ได้มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น
  • ตุ๊กตาคิเมโกมิ (木目込み人形, Kimekomi-ningyoo)
  •                             ตัวอย่างตุ๊กตาคิเมโกมิ
  • การปักเย็บเสื้อผ้าฝั่งลงไปบนตัวตุ๊กตาคิเมโกมิ

    ตุ๊กตาคิเมโกมิเป็นการนำเอาตุ๊กตาที่ทำจากไม้แกะสลักมาปักเย็บเสื้อผ้าฝั่งลงไปบนตัวตุ๊กตาและเก็บริมผ้าตามร่องไม้ของตุ๊กตา ต้นกำเนิดของตุ๊กตาคิเมโกมินั้นเกิดเมื่อประมาณ 270 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงกลางสมัยเอโดะ (Edo) นักบวชชินโตที่ทำงานอยู่ในนครเกียวโต จากศาลเจ้าชินโตคามิกาโมะ (上賀茂神社, Kamigamo Jinja) ได้แกะสลักตุ๊กตาโดยใช้ต้นยานะกิ (柳の木, yanagi no ki) ตุ๊กตาคิเมโกมิก็ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
  • ตุ๊กตาซางะ (嵯峨人形, Saga-ningyoo)
  • กตาซางะเป็นตุ๊กตาขนาดเล็กที่ทำจากไม้แกะสลักเช่นเดียวกับตุ๊กตาคิเมโกมิ แต่นำมาตกแต่งสีสันด้วยทองคำเปลวหรือทาสีต่างๆ ต้นกำเนิดนั้นเกิดขึ้นในช่วงต้นสมัยเอโดะ (Edo) จนถึงช่วงกลางสมัยเอโดะ สมัยนั้นผู้คนที่อาศัยอยู่ที่เขตซางะ (Saga) นครเกียวโต ยามว่างจากการทำพระพุทธรูปก็มักจะมาผลิตตุ๊กตาตัวเล็กๆ เล่นกัน ซึ่งทำให้มักจะถูกเรียกว่า ตุ๊กตาซางะ (嵯峨人形, Saga-ningyoo) นั่นเอง
  • ตุ๊กตาอิจิมัทสึ (市松人形, Ichimatsu-ningyoo)
  •                   ตัวอย่างตุ๊กตาอิจิมัทสึ
  • ตุ๊กตาอิจิมัทสึเป็นตุ๊กตาที่สร้างเลียนแบบเด็กญี่ปุ่นที่สร้างออกมาได้อย่างสมจริงที่สุด มีต้นแบบมาจากนักแสดงคาบุกิ ชื่อ ซาโนะงาวะ อิชิมัทสึ (佐野川市松, Sanogawa Ichimatsu) ที่แสดงบทบาทเป็นผู้หญิงในละคร ซึ่งมีบุคคลมากมายชื่นชอบในผลงานของเขา ตุ๊กตาอิจิมัทสึเป็นตุ๊กตาที่เด็กผู้หญิงสมัยก่อนใช้เล่นเปลี่ยนเสื้อผ้ากัน
  • ตุ๊กตาหญิงสาวโอยามะ (尾山人形, Oyama-ningyoo)
  • ตุ๊กตาหญิงสาวโอยามะเป็นตุ๊กตาที่มีรูปแบบที่ทันสมัย มีการออกแบบเครื่องแต่งกายและทรงผมที่งดงาม ผู้ที่ริเริ่มตุ๊กตาหญิงสาวนี้ คือ จิโร่ซาบุโร่ โอยามะ (小山次郎三郎, Jiroosaburoo Oyama) เป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับเรื่องการเชิดตุ๊กตาในละครตุ๊กตา
  • ตุ๊กตาเคียว (京人形, Kyoo-ningyoo)
  • ตุ๊กตาเคียวเป็นตุ๊กตาที่แต่งกายในชุดที่หรูหราในช่วงสมัยเฮอัน (Heian) จึงถูกเรียกโดยรวมว่าเป็น “ตุ๊กตาเคียว” ในสมัยก่อนถูกผลิตขึ้นโดยให้กับเจ้าหญิงในสมัยเฮอันใช้เป็นของเล่น ต่อมาในสมัยเอโดะ (Edo) จึงถูกนำมาใช้เป็นของที่ระลึกหรือเป็นของขวัญเพื่อการตอบแทน