ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูง
ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า...
ที่ประชุมได้หารือถึงการสร้างค่านิยมหลักของคนไทย
ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติ
ให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ ได้แก่
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
8. มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่อ
อำนาจฝ่ายต่ำ
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์
ของตนเอง
ซึ่ง สพฐ.จะนำหลักการดังกล่าวมาขยายผล โดยได้เตรียม
เผยแพร่เรื่องดังกล่าวไปสู่สถานศึกษาด้วยการบรรจุไว้
ในหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง พร้อมกับ
การจัดกิจกรรเสริมสร้างเด็กและเยาวชนในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
"สพฐ.ได้มีการวิเคราะห์ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
พบว่า หลักสูตรของ สพฐ.ก็มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ 8 ข้อ
ประกอบด้วย มีความรักชาติศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย
ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย
และมีจิตสาธารณะ โดยทั้งหมดได้บรรจุไว้ในหลักสูตรอยู่แล้ว
ส่วนที่ คสช.กำหนดค่านิยมหลัก 12 ประการ ก็ถือว่าครอบคลุม
คุณลักษณะของ สพฐ.แล้ว และการผลักดันเรื่องนี้ก็คงไม่ใช่แค่
ภาคการศึกษาเพียงฝ่ายเดียว แต่สังคมทุกภาคส่วนต้องร่วมกันทำ
โดยเฉพาะการเริ่มต้นจากครอบครัวที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
ให้แก่เด็กและยาวชน" เลขาธิการ กพฐ. กล่าว.
รายละเอียดที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น