วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)





Asean Economic Community-AEC
Asean Economic Community History




    AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ

1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม

เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่ เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน

สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป




การสร้างค่านิยมหลักของคนไทย ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติ ให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ

การสร้างค่านิยมหลักของคนไทย ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติ ให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ

10494665_788514711178789_250675307286494081_n 


 

การสร้างค่านิยมหลักของคนไทย

 
ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 


เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติ


ให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ

 

                            "สพฐ.รับลูก คสช.สร้างค่านิยมคนไทยใหม่"


ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)

เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูง

ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า...


ที่ประชุมได้หารือถึงการสร้างค่านิยมหลักของคนไทย

ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 

เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติ

ให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ ได้แก่ 

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน 

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย 

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ 

7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย

8. มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ 

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่อ

อำนาจฝ่ายต่ำ 

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์

ของตนเอง 

ซึ่ง สพฐ.จะนำหลักการดังกล่าวมาขยายผล โดยได้เตรียม

เผยแพร่เรื่องดังกล่าวไปสู่สถานศึกษาด้วยการบรรจุไว้

ในหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง พร้อมกับ

การจัดกิจกรรเสริมสร้างเด็กและเยาวชนในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

 

 

"สพฐ.ได้มีการวิเคราะห์ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ 

พบว่า หลักสูตรของ สพฐ.ก็มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ 8 ข้อ 

ประกอบด้วย มีความรักชาติศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย 

ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย

และมีจิตสาธารณะ โดยทั้งหมดได้บรรจุไว้ในหลักสูตรอยู่แล้ว

ส่วนที่ คสช.กำหนดค่านิยมหลัก 12 ประการ ก็ถือว่าครอบคลุม

คุณลักษณะของ สพฐ.แล้ว และการผลักดันเรื่องนี้ก็คงไม่ใช่แค่

ภาคการศึกษาเพียงฝ่ายเดียว แต่สังคมทุกภาคส่วนต้องร่วมกันทำ 

โดยเฉพาะการเริ่มต้นจากครอบครัวที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี

ให้แก่เด็กและยาวชน" เลขาธิการ กพฐ. กล่าว.


รายละเอียดที่มา


ปลามีเขา.........ยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล

ปลามีเขา.........ยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล


       ทีมงานแผนกธรรมชาติวิทยา บีบีซีแห่งอังกฤษ (BBC Natural History Unit) ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง กับสิ่งที่บันทึกได้ระหว่างการถ่ายทำสารคดีชุด เหตุการณ์ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ (Nature's Great Events) หลังจาก ที่เฝ้าติดตามสัตว์ลึกลับแห่งอาร์กติกมาเกือบปี นับเป็นครั้งแรก ที่สามารถบันทึกเส้นทางอพยพของนาร์วาฬจากมุมสูงได้


 
 ภาพนาร์วาฬ ฝูงหนึ่ง ที่แหวกว่ายไปตามรอยแยกของน้ำแข็งบนผืนมหาสมุทรอาร์กติก ระหว่างกำลังอพยพย้ายถิ่นในช่วงฤดูร้อน





 

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแห่งขั้วโลกนี้ ยังมีหลายพฤติกรรมที่นักชีววิทยาต้องการไขข้อสงสัย (ภาพเนชั่นแนลจีโอกราฟิก)

 

 อยู่กันเป็นฝูงและหากินในน้ำลึก(ภาพเนชั่นแนลจีโอกราฟิก)

 

 
"นาร์วาฬ" (Narwhal) วาฬขาวขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่บริเวณอาร์กติก ซึ่งบางครั้งวาฬน้อยเหล่านี้ ได้รับฉายาว่า "ยูนิคอร์นแห่งอาร์กติก" หรือ "ยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล" เพราะงาที่มีลักษณะบิดเกลียวยื่นยาวแทงทะลุออกมาจากปากของพวกมัน

 ปลานาร์วาฬ(Narwhal) ได้ชื่อว่าเป็นยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Monodon monoceros (Linnaeus,1756) ชื่อของนาร์วาฬ มาจาก ภาษา Old Norse(ภาษานอร์เวโบราณ) มีความหมายว่า วาฬที่มีลักษณะคล้ายซากศพ เพราะมันชอบว่ายน้ำโดยหันทางด้านท้องมันขึ้นด้านบน และการที่มันมีสีผิวที่ซีด นาร์วาฬเป็นสัตว์ตระกูล เดียวกับโลมาหัวขวด วาฬเบลูก้า และวาฬออร์ก้า มันมีวิถีชีวิตที่คล้ายโลมาชนิดอื่นๆโดยจะว่ายรวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 15-20 ตัว แต่ก็มีบางครั้งที่ว่ายรวมกันเป็นฝูงใหญ่จำนวนมากถึงร้อยถึงพันตัว

 นาร์วาฬมีช่วงตัวที่มีส่วนคล้ายปลาโลมา สีดำ-ขาว โดยที่ด้านบนจะมีสีที่เข้มกว่าด้านท้อง มีขนาดยาว 4-5 เมตร ไม่มีครีบด้านบน มีส่วนหาง 2 แฉก มักพบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลอาร์กติก เป็นวาฬที่ว่ายไปทางเหนือที่สุดเมื่อเทียบกับวาฬชนิดอื่นๆ เจ้าสัตว์ที่เสมือนหลุดมาจากเทพนิยายตัวนี้มีฟันด้านบน 2 ซี่ ในตัวผู้ฟันหน้าหนึ่งซี่ของมันด้านบนซ้ายจะเจริญงอกมาเป็นงาที่มีลักษณะเป็น เกลียววนทางซ้าย มีความยาวได้ถึง 2.7 เมตร (8.75 ฟุต) น้ำหนักประมาณ 8 กิโลกรัม ตัวเมียบางตัวก็มีงาเล็กๆงอกออกมาจากปากได้เช่นเดียวกัน ซึ่งงานี้จะงอกยาวตรงออกจากปากด้านบน ประโยชน์การใช้งานของงานั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์บางท่านคาดเดาว่านาร์วาฬตัวผู้ใช้งาในการต่อสู้เพื่อแย่ง ชิงตัวเมีย หรือใช้ดึงดูดความสนใจ ระหว่างการจับคู่ หรือบางทีมันอาจใช้ส่วนปลายแหลมของงาในการขุดคุ้ยพื้นดินใต้ท้องทะเลเพื่อ ที่จะหาอาหารก็เป็นได้


 

แม้จะเป็นสัตว์หายาก แต่ก็ถูกล่าหัวมากไม่แพ้กับสัตว์ขั้วโลกเหนือ(ภาพเนชั่นแนลจีโอกราฟิก)
นาร์วาฬมีความพร้อมในการสืบพันธุ์ในช่วงตั้งแต่อายุ 5-8 ปี โดยตัวเมียสามารถมีโอกาสตั้งครรภ์ได้หลายครั้งต่อปี ระยะเวลาในการตั้งครรภ์ประมาณ 15.3 เดือน โดยเฉพาะฤดูผสมพันธุ์ คือช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. แล้วให้กำเนิดลูกปลานาร์วาฬในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. ส่วนใหญ่ให้กำเนิดลูกตัวเดียว ขนาด ประมาณ 150 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80 กิโลกรัม ในบางกรณีก็อาจมีการกำเนิดลูกแฝดได้ ในช่วงขวบปีแรกเจ้านาร์วาฬตัวน้อยเพศผู้ก็จะเริ่มมีงางอกออกมา แม่วาฬจะให้มีระยะเวลาการให้น้ำนมลูกราวๆ 2 ปี(ในช่วงนี้แม่วาฬจะไม่ตั้งครรภ์อีก)

  
  
  งาที่ยาวกว่า 2 เมตร นอกจากจะถูกล่าเพื่อสะสมแล้ว ที่งาของนาร์วาฬยังเป็นแหล่งวิตามินซีชั้นดีอีกด้วย(ภาพการ์เดียน)
       
ศัตรูตัวฉกาจที่เป็นภัยต่อนาร์วาฬ นอกจากวาฬออร์ก้า หมีโพล่า และปลาฉลาม ที่ล่ามันเป็นอาหารแล้ว ก็มีมนุษย์ที่เป็นภัยร้ายคุกคามมัน เนื่องจากต้องการหนัง เนื้อ ชั้นไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนงาซึ่งถือว่าเป็นยาขนานวิเศษ มีสรรพคุณในการรักษาโรค และชูกำลัง ในประวัติศาสตร์ยุคมืด งาของนาร์วาฬมีมูลค่ามากกว่าทองคำเสียอีก

ประวัติวันลอยกระทง


    เทศกาลลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรืออยู่ในราว
เดือนพฤศจิกายนถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย
เรียกกันว่า งานลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของ
ประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง
ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง เป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เชื่อกันว่าการ
ลอยกระทง หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศนั้น กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระ
พุทธบาทที่แม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ใน แคว้นทักขิณาของประเทศ
อินเดีย ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา สำหรับปะเทศไทยประเพณีลอยกระทง
ได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง
หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล
      ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่
กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ
ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน
เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธี
จองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร
พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชา
พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท
ณ หาดทรายแม่น้ำนัมฆทานที ประเทศอินเดีย
       การลอยกระทงตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทง
รูปดอกบัว และรูปต่างๆถวายพระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ
ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน  12  ให้ทำโคมลอย  เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชา
พระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่
และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า
"ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรงพระบรม
วงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง
ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอกทำประกวด
ประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้างวิจิตรไปด้วยเครื่องสด
คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20  ชั่งบ้าง
ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปี
ที่สำคัญ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง
และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยัง
นิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้
โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุดที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้
ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคมบนท้องฟ้าพร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาว
สวยงามมากทีเดียว
ประวัติการลอยกระทงในประเทศไทย
       การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม
เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของ
พระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคม
ในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำ
สายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา