ตำนานฟาโรห์ นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาฆาตกรรมเมื่อ 3,000 ปีก่อน
ตำนานฟาโรห์ นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาฆาตกรรมเมื่อ 3,000 ปีก่อน
นักวิทยาศาสตร์กล่าวในรายงานฉบับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555
เกี่ยวกับการฆาตกรรมในราชสำนักอียิปต์เมื่อ 3,000 ปีก่อนว่า
มือสังหารเชือดพระศอฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์ในขณะที่การก่อกบฏเพื่อแย่ง
ชิงบัลลังก์กำลังอยู่ในช่วงตึงเครียดที่สุด
เทคโนโลยีด้านนิติวิทยาศาสตร์แสดงผลว่า ฟาโรห์รามเสสที่ 3
กษัตริย์ซึ่งได้รับความนับถือเสมือนพระเจ้า
ถูกลอบสังหารด้วยน้ำมือของนักฆ่าที่พระชายาและพระโอรสผู้ทะเยอทะยานของ
พระองค์เองเป็นผู้ส่งมา
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าศพซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “สครีมมิ่งมัมมี่”
อาจเป็นโอรสของฟาโรห์รามเสสที่ 3
ซึ่งเป็นไปได้ว่าพระองค์อาจถูกบังคับให้ปลิดชีพตนเองหลังจากการลอบปลงพระ
ชนม์องค์ฟาโรห์
นักวิเคราะห์กล่าวว่าภาพจำลองจากคอมพิวเตอร์ของมัมมี่ฟาโรห์รามเสสที่ 3
เผยให้เห็นหลอดลมและหลอดเลือดแดงใหญ่ถูกปาดเป็นแผลกว้างประมาณ 70 มิลลิเมตร
และลึกจนเกือบถึงกระดูกคอ
แผลดังกล่าวทำลายเนื้อเยื่ออ่อนทั้งหมดที่ด้านหน้าของลำคอ
“ผมแทบไม่สงสัยเลยว่ากษัตริย์รามเสสที่ 3
จะสิ้นพระชนม์จากการถูกเชือดพระศอ” นายอัลเบิร์ต ซิงค์
นักพยาธิแพทย์ก่อนประวัติศาสตร์ของสถาบันการศึกษามัมมี่และมนุษย์น้ำแข็ง
แห่งศูนย์วิจัยยูโรเปียน อคาเดมี ออฟ โบเซ็น/บอลซาโน ในประเทศอิตาลี กล่าว
“รอยเชือดลึกมากและค่อนข้างใหญ่ แผลลึกจนเกือบถึงกระดูก
[กระดูสันหลังส่วนคอ] เลยทีเดียว นั่นน่าจะเป็นแผลที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต”
ฟาโรห์รามเสสที่ 3 ทรงปกครองอียิปต์ตั้งแต่ราว 1188 ถึง 1155
ปีก่อนคริสตกาล ในจารึกโบราณพระองค์ทรงได้รับสมญานามว่า
“พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่”
และเป็นผู้นำทางทหารที่ปกป้องอียิปต์จากการรุกรานครั้งแล้วครั้งเล่า
ซึ่งในสมัยนั้นอียิปต์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในเมดิเตอร์เรเนียน
พระองค์เสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมายุได้ 65 พรรษา
แต่สาเหตุการสิ้นพระชนม์ไม่เคยสรุปเป็นที่แน่นอน
หลักฐานที่ไม่มีผลสรุปเป็นที่แน่ชัดปรากฏอยู่ในเอกสารปาปิรัสแห่งตูริน
ที่บันทึกการพิจารณาคดี 4
ครั้งต่อผู้สมรู้ร่วมคิดในการลอบปลงพระชนม์ฟาโรห์รามเสสที่ 3
โดยมีพระชายาทิฟที่มีพระชนมายุอ่อนกว่าหลายปี และโอรส คือ เจ้าชายเพนทาวีรี
รวมอยู่ด้วย
ในการศึกษามัมมี่ซึ่งใช้เวลานานหนึ่งปี
นายซิงค์และผู้เชี่ยวชาญจากอียิปต์ อิตาลี
และเยอรมนีพบว่ารอยเชือดที่พระศอของฟาโรห์รามเสสที่ 3
ถูกซ่อนอยู่ภายใต้ผ้าพันพระศพ
“นี่คือปริศนาสำคัญที่ไม่เคยมีใครพิสูจน์ได้มาก่อนว่า จริงๆ
แล้วเกิดอะไรขึ้นกับองค์ฟาโรห์”
นายซิงค์กล่าวในรายงานผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ใน บริติช เมดิคอล เจอร์นัล
“เราทั้งประหลาดใจและดีใจมาก เพราะไม่ได้คาดหวังว่าจะพบอะไร
มีคนอื่นศึกษามัมมี่พระศพไปแล้วก่อนหน้านี้อย่างน้อยก็จากภายนอก
และทุกครั้งก็จะมีการสรุป ว่า ‘ไม่พบร่องรอยของบาดแผลหรือการบาดเจ็บใด ๆ’”
นักวิจัยกล่าวว่าเป็นไปได้ที่บาดแผลบริเวณพระศอของพระองค์จะเกิดขึ้นหลัง
การสิ้นพระชนม์
แต่ก็มีโอกาสไม่มากนักเพราะไม่เคยมีการบันทึกว่าการทำให้เกิดแผลที่คอเป็น
เทคนิคในการทำมัมมี่อันเก่าแก่ของอียิปต์
นอกจากนี้ยังพบเครื่องรางซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจวิเศษในการรักษาถูกฝังอยู่ใน
แผลดังกล่าว
“สำหรับผม
เห็นได้ค่อนข้างชัดว่าผู้ทำมัมมี่เอาเครื่องรางใส่ไว้เพื่อรักษาบาดแผลของ
พระองค์สำหรับชีวิตหลังความตาย” นายซิงค์กล่าว “สำหรับชาวอียิปต์โบราณ
การทำให้ร่างกายสมบูรณ์แบบที่สุดหลังความตายเป็นเรื่องสำคัญมาก”
และผู้ทำมัมมี่ก็มักจะเอากิ่งไม้หรือวัสดุอื่นมาแทนอวัยวะ
นอกจากนี้นายซิงค์และคณะยังได้ศึกษามัมมี่ของชายไม่ทราบชื่อที่มีอายุ
ระหว่าง 18 – 20 ปี ซึ่งพบในสุสานหลวงเช่นเดียวกับมัมมี่ของฟาโรห์รามเสสที่
3 พวกเขาพบหลักฐานทางพันธุกรรมที่บ่งชี้ว่าศพดังกล่าว (ซึ่งเรียกว่า
“สครีมมิ่งมัมมี่” เพราะปากที่อ้าค้างและใบหน้าที่แสดงถึงความเจ็บปวด)
มีความสัมพันธ์กับองค์ฟาโรห์
และอาจเป็นไปได้ที่มัมมี่ดังกล่าวจะเป็นเจ้าชายเพนทาวีรี
“สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับศพนี้คือวิธีการทำมัมมี่ที่แปลกมาก
...พวกเขาไม่ได้เอาอวัยวะภายในออก ไม่ได้เอาสมองออก” นายซิงค์กล่าว
“ศพเป็นสีแดงประหลาดๆ มีกลิ่นที่แปลกมาก และสิ่งที่ใช้พันศพคือหนังแพะ
ซึ่งนับเป็นวัสดุที่ไม่บริสุทธิ์ตามความเชื่อในสมัยอียิปต์โบราณ”
เป็นไปได้ว่านั่นอาจจะเป็นการลงโทษหลังเสียชีวิต
ถ้านั่นคือมัมมี่ของเจ้าชายเพนทาวีรีจริง
ดูเหมือนว่าพระองค์อาจถูกบังคับให้แขวนคอตาย
ซึ่งในสมัยนั้นถือเป็นการลงโทษที่เพียงพอสำหรับการล้างบาปเพื่อชีวิตหลัง
ความตาย นักวิจัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม
ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าผู้วางแผนปลงพระชนม์ไม่ได้ขึ้นครองราชย์แต่
อย่างใด ผู้ที่สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์รามเสสที่ 3 คือ เจ้าชายอามุน
เฮอร์เคปปิเชฟ โอรสที่พระองค์ทรงแต่งตั้ง เป็นรัชทายาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น