โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร
|
มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดของโลก แต่ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับที่สุด เชื่อว่า โลกเกิดขึ้นพร้อมกับระบบสุริยะจักรวาล เมื่อราว ๆ 4,560 ล้านปีที่แล้ว
ระบบสุริยะจักรวาล เกิดจากกลุ่มก๊าซและธุลีที่เรียกว่าเนบิวลา (nebula) ภายในเนบิวลานั้น ๆ กลุ่มสสารได้จับกลุ่มกันตรงกลาง จากแรงโน้มถ่วง เกิดเป็น protostar หรือดาวดวงแรก ความร้อนจากกระบวนการดังกล่าว ทำให้เนบิวลาเปลี่ยนสภาพเป็นแผ่นแบน ๆ ที่หมุนได้เหมือนแผ่นเสียง สสารจำนวนมากไปกระจุกตัวอยู่ตรงกลางของแผ่นแบน ๆ นั้น ต่อมาเกิดระเบิดอย่างรุนแรง ดวงอาทิตย์ถือกำเนิดขี้นตรงใจกลางนั้น พร้อมกับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวส์ชั่น (nuclear fusion) ที่ปลดปล่อยพลังงานมหาศาล ก๊าซและอนุภาคของฝุ่นธุลีต่าง ๆ หมุนเป็นวงรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ และเกิดเป็นดาวเคราะห์ต่าง ๆ ส่วนที่ล้อมรอบอยู่ด้านนอก ของระบบสุริยะจักรวาล ประกอบไปด้วยกลุ่มของก้อนหินและก้อนน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนเป็นดาวหาง (comets) โดยที่ดาวหางจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในองศาที่ต่างกันไป ในระหว่างวงโคจรระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี มีวงของแนวกลุ่มหิน ที่เรียกว่า กลุ่มดาวเคราะห์น้อย (asteroids) โคจรอยู่ ซึ่งบางครั้งชิ้นส่วนของดาวเคราะห์น้อยหลุดจากวงโคจร พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ของโลกเหมือนลูกไฟตกลงมาจากท้องฟ้า ดังที่เรียกกันว่าดาวตกหรือผีพุ่งไต้ ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้ใน ชั้นบรรยากาศที่ตกลงมาถึงเปลือกโลกจะเรียกว่า อุกกาบาต หรือ อุกาบาต (meteorites) เมื่อโลกเกิดขึ้นมาใหม่ ๆ นั้น โลกมีขนาดเล็กกว่าปัจจุบันมาก แต่ด้วยชิ้นส่วนของดาวเคราะห์และดาวหางจำนวนมหาศาลที่ตกลงสู่โลก ในช่วง 2-3 ล้านปีแรก ทำให้โลกมีขนาดเท่ากับปัจจุบัน หลังจากนั้นประมาณ 100 ล้านปี โลกได้มีการแบ่งเป็นชั้น ๆ เนื่องจากแรงโน้มถ่วง โดยที่ส่วนที่หนักที่สุด (เหล็ก-นิเกิล) เป็นแกนกลาง (core) ส่วนที่เบากว่าเช่นเหล็ก แมกนีเซียม ซิลิเกต อลูมิเนียม และแคลเซียมเป็นผิวโลกในชั้นแมนเทิล (mantle) และเปลือกโลก (crust) ส่วนที่เบาที่สุดได้แก่พวกก๊าซต่าง ๆ ห่อหุ้มโลกไว้
เมื่อโลกค่อย ๆ เย็นตัวลง ไอน้ำเริ่มจับตัวกันเกิดเป็นเมฆ และฝนตกลงมาสู่พื้นโลก เกิดเป็นทะเล แม่น้ำ และ มหาสมุทร
โลกเมื่อ 4,000 ล้านปีที่ผ่านมา มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเด่น มีก๊าซออกซิเจนเพียงเล็กน้อย สิ่งมีชีวิตในยุคแรกมีองค์ประกอบทางเคมีที่หลากหลาย แต่องค์ประกอบที่สำคัญคือ น้ำ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และ ไนโตรเจน ซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กที่เก่าแก่ที่สุดที่ได้มีการค้นพบ มีอายุประมาณ 3,500 ล้านปี เป็นซากของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่เกาะติดกันเป็นสายเหมือนเส้นเชือกหรือลูกปัด โดยโครงสร้างมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) ซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลิตออกซิเจนให้กับโลกในอดีต |
วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น