วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

ออโรรา (ดาราศาสตร์)

ออโรรา (ดาราศาสตร์)

  

 

ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด
ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิด ขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 200 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ




 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

  

สถานที่และโอกาสการเกิดออโรรา

ในเขตที่มีการปรากฏของออโรรา สามารถสังเกตออโรราได้ทุกคืนที่ฟ้าโล่งในฤดูหนาว โดยมีข้อสังเกตดังนี้
  • ออโรราจะปรากฏบ่อยครั้ง ตั้งแต่เวลา 22.00 น ถึง เที่ยงคืน
  • ออโรราจะสว่างจ้าในช่วง 27 วันที่ดวงอาทิตย์หันด้านแอคทีฟ (Active Area) มายังโลก
  • ช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ ในเดือนตุลาคม กุมภาพันธ์ และ มีนาคม เป็นเดือนที่เหมาะสำหรับการชมออโรราทางซีกโลกเหนือ
  • ออโรรามีความสัมพันธ์กับจุดสุริยะ (Sun Spot) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวัฎจักรประมาณ 11 ปี แต่ดูเหมือนว่า จะมีการล่าช้าไป 1 ปีสำหรับการเกิดจุดดับมากที่สุดกับการเกิดออโรรามากที่สุด
ตารางที่ 1 แสดงความถี่ในการปรากฏออโรราในสถานที่ต่างๆทั่วโลก
  • ออโรราจะปรากฏลดลง 20-30% กว่าตอนที่เกิดจุดสุริยะมากที่สุด เมื่อเกิดจุดสุริยะบนดวงอาทิตย์น้อยที่สุด
ออโรราจะปรากฏในแถบประเทศเมดิเตอเรเนียนเมื่อเกิดจุดสุริยะหรือมีลมสุริยะมากๆ อาจถึง 10 ปีต่อครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วเกิด 100 ปีต่อครั้ง








 

แหล่งที่มาและระดับพลังงานของอนุภาค

ออโรราที่ปรากฏนั้นเกิดจากอนุภาคมีพลังงานเคลื่อนที่ตามเส้นสนามแม่เหล็ก มาจากเมกนีโตเทล (Magnetotail) มาสู่บรรยากาศชั้นบน อนุภาคส่วนใหญ่คืออิเล็กตรอน แต่โปรตอนและไอออนอื่น ก็อาจพบได้ เมื่ออนุภาคมีประจุ (Charged Particles) พุ่งมาจาก แมกนีโทสเฟียร์ (Magnetosphere) มาสู่บรรยากาศชั้นบน จะเกิดการชนกับแก๊สที่ไม่มีความสำคัญอะไรที่นั่น
อนุภาคออโรราเป็นเพียงหนึ่งในหลายอนุภาคมีประจุที่กระหน่ำมายังโลก รวมถึงอนุภาคที่มีพลังงานฟลักซ์มหาศาลในช่วง พันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (GeV) หรือล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) อย่างเช่น รังสีคอสมิค (Cosmic Rays) อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสี (Radiation Belt) พลังงานสูง และอนุภาคสุริยะ (Solar Energetic Particles) ส่วนอนุภาคออโรรานั้นเกิดขึ้นในแผ่นพลาสมาแม่เหล็ก (Magnetospheric Plasma Sheet) และมีพลังงานอยู่ในช่วง 1 ถึง 10 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) แต่บางทีอาจมีพลังงานมากถึง 100 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) และอนุภาคพลังงานต่ำ เช่น ลมสุริยะที่เข้าสู่แมกนีโตสเฟียร์ทาง ซีกโลกกลางวัน (Dayside Cusp ) ใกล้กับขั้วแม่เหล็กโลก เป็นต้น ความลึกที่อนุภาคเหล่านี้จะเจาะเข้าไปในชั้นบรรยากาศ ขึ้นอยู่กับพลังงานของมัน ยิ่งพลังงานมากยิ่งเข้าได้ลึก รังสีคอสมิค สามารถเดินทางไปถึงชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) หรืออาจลึกไปถึงพื้นโลก อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสีและอนุภาคสุริยะพลังงานสูง เข้ามาได้ถึงชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) และชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) ส่วนออโรรานั้นมาได้แค่ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) ซึ่งสูงประมาณ 100 กิโลเมตร นั่นทำให้ออโรราเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศนี้

 


 

 

 

 

 

สีของออโรรา

ดวงอาทิตย์ปล่อยแสงทุกสีที่มองเห็นได้ออกมาก ทำให้เราเห็นแสงอาทิตย์เป็นสีขาว ส่วนสเปคตรัมของออโรรา ก่อนจะศึกษารายละเอียด เราต้องรู้เรื่อง สาเหตุการเกิดแสงก่อน
ในบรรยากาศประกอบด้วยไนโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก อนุภาคของแก๊สเหล่านี้จะปลดปล่อยโฟตอนซึ่งมีความยาวคลื่นคงที่ เมื่ออนุภาคมีประจุไฟฟ้า กระตุ้นแก๊สในบรรยากาศ อิเล็กตรอนจะเริ่มเคลื่อนที่รูปนิวเคลียสในวงโคจรที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีพลังงานเหลือเฟือ อนุภาคที่ถูกกระตุ้นจะไม่เสถียรและจะปลดปล่อย พลังงานออกมาในรูปของแสง เรียกว่าแสงนี้ว่า ออโรรา

แสงสีเขียวเข้ม เกิดที่ความสูง (Altitudes) ที่ 120 ถึง 180 กิโลเมตร แสงเหนือสีแดงปรากฏที่ความสูงที่สูงกว่า ส่วนสีฟ้า และม่วงปรากฏที่ความสูงต่ำกว่า 120 กิโลเมตร เมื่อเกิดพายุสุริยะ 000 แสงสีแดงจะปรากฏที่ความสูงตั้งแต่ 90 ถึง 100 กิโลเมตร
เมื่อออโรราจางลง มันจะปรากฏเป็นสีขาวเมื่อมองด้วยตาเปล่า เมื่อมันสว่างขึ้น สีจึงมองเห็นขึ้นมา และสีเขียวซีดที่เป็นเอกลักษณ์ของมันจะมองเห็นขึ้นมา
เมื่อมีความหนาแน่นมากขึ้น ในบริเวณที่ต่ำลงมาจะมองเห็นเป็นสีเขียวสด และ สีแดงจางๆ จะมองเห็นที่ความสูงมากๆ
เหนือชั้นบรรยากาศขึ้นไป 100 กิโลเมตร ประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ไนโตเจนจะมีมากที่ความสูง 10 กิโลเมตร และออกซิเจน มีมากที่ 200 กิโลเมตร เส้นกราฟสีเขียวแสดงความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจนและสีม่วงแสดงความหนาแน่นของ ก๊าซไนโตรเจน ณ ความสูงต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศเทอโมสเฟียร์ เมื่ออะตอมออกซิเจนถูกกระตุ้น มันจะปล่อยแสงมากมายหลายสีออกมาก แต่สีที่ที่ส ว่างที่สุดคือที่แดงและสีเขียว

ความสูงของออโรรา (จากพื้นโลก)

ตั้งแต่ปี 1915 เป็นต้นมา ความสูงของออโรราเป็นที่โต้เถียงกันในวงการวิทยาศาสตร์ จนในปี ค.ศ. 1910 – 1940 คาร์ล สตอร์เมอร์ (Carl Størmer) ได้ใช้หลักการพาราแล็กซ์ (Parallax) ในการวัดขนาด นักสำรวจ 2 คนที่ความสูง 50 ถึง 100 กิโลเมตรโดยใช้ภาพออโรรา 2 ภาพที่ถ่ายในเวลาเดียวกัน และใช้แผนที่ดวงดาว อ่านขนาดมุม และคำนวณหาความสูง
ภาพพาราแล็กซ์กว่า 20000 ภาพ ทำให้สตอร์เมอร์คำนวณความสูงของออโรราอย่างแม่นยำ ออโรราในยามค่ำคืนจะพบที่ความสูง 90 ถึง 150 กิโลเมตร มีบางส่วนที่อาจแผ่กว้างถึง 500 กิโลเมตร แต่โดยเฉลี่ย มีความสูงที่ 100 ถึง 120 กิโลเมตร
เราใช้เครื่องวัดแสง ที่เรียกว่า ออโรรา โฟโตมิเตอร์ (Aurora Photometre)

ความรู้เกี่ยวกับปะการัง

ความรู้เกี่ยวกับปะการัง 

http://www.icef.or.th/web/images/stories/knowledge/conservation-pakarang/conservation-pakarang-01.jpg

http://i1337.photobucket.com/albums/o662/seub_feb2013/130407133243-large_zps0cbad036.jpg 

ปะการังคืออะไร

ปะการัง เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่ในกลุ่มของไดนาเรีย ซึ่งเคยเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าซิเลนเทดเรท มีอยู่บางชนิดที่เป็นตัวเดียวแต่มีขนาดใหญ่ เช่น ปะการังดอกเห็ดบางชนิด หินปูนซึ่งเป็นโครงสร้างแข็งนั้นมีตัวปะการัง เรียกว่า โพลิป (polyp) เป็นผู้สร้างขึ้น โพลิปนั้นมีลักษณะอ่อนนุ่มค่อนข้างโปร่งใส
รูป ร่างเป็นทรงกระบอกปลายล่าง ตันด้านบนมีปากอยู่ตรงกลาง และมีหนวดเรียงรายอยู่โดยรอบเป็นจำนวน 6 หรืออนุกรม 6 ที่หนวดนี้มีเซลล์สำหรับต่อย
เพื่อให้ปะการังป้องกันตนเองและหาอาหาร

ปะการัง หาอาหารกินด้วยการจับเหยื่อตัวเล็กๆ ที่ล่องลอยมากับกระแสน้ำ โดยปล่อยเข็มพิษออกมาจากเซลล์สำหรับต่อยในเวลากลางคืนปะการังจะแผ่ขยายหนวด ควานหาเหยื่อและใช้เข็มพิษจับเหยื่อเป็นอาหาร จากเหตุนี้ทำให้ลักษณะที่ปรากฎของปะการังในตอนกลางวันต่างจากลักษณะของ ปะการังกลางคืนค่อนข้างมาก

การสืบพันธุ์ของปะการัง

ปะการังมีการสืบพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ

1. แบบอาศัยเพศ วิธีนี้ปะการังส่วนใหญ่ที่เป็นตัวๆ มากมายประกอบกันเป็นโคโลนีนั้น เมื่อโตเต็มที่แล้วก็จะปล่อยไข่หรือสเปิร์มของตัวมันออกมา บางชนิดในโคโลนีเดียวกันจะมีทั้งสองเพศคือ ปล่อย มาทั้งสเปิร์มและไข่ สเปิร์มและไข่ของปะการังเมื่อออกมาแล้ว จะผสมกันเป็นตัวอ่อน เรียกว่า พลานูลา (Planula) เป็น ที่น่าสนใจว่าการผสมพันธุ์ของปะการังด้วย วิธีนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันในทะเลสำหรับเมืองไทยอยู่ในระยะเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ซึ่งตัวอ่อนเหล่านี้จะขึ้นมาลอยอยู่ในน้ำทะเลเต็มไปหมด จนบางครั้งเข้าใจผิดว่าเป็นกาเพิ่มจำนวนของแพลงตอน พืช ลูกปะการังตัวเล็กๆจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกระทั่ง เจอพื้นที่ๆ เหมาะสมจะลงเกาะกับวัตถุที่แข็ง เช่น ก้อนหิน หรือซากปะการัง จากนั้นปะการังก็จะเริ่มสร้างโครงสร้างแข็งที่เป็นหินปูนขึ้นมา
เป็นโครงร่าง

2. แบบไม่อาศัยเพศ นั่นคือ ปะการังจะแตกหน่อออกไปเรื่อยๆ ขยายออกไปตามลักษณะของปะการังแต่ละชนิด ทำให้โคโลนีใหญ่ขึ้น ปะการังถ้าถูกทำลาย
จะ ต้องใช้การฟื้นตัวนานเท่าใด? นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาอัตราการเติบโตของปะการัง โดยใช้วิธีการหลายรูปแบบ ทั้งการวัดโดยตรง การย้อมสี รวมไป
ถึงการใช้ กัมมันตรังสี ซึ่งทำให้วัดอัตราการเติบโตของปะการังแต่ละชนิดได้ โดยทั่วๆ ไปปะการังแผ่นและปะการังกิ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเร็วกว่า
อย่าง อื่น อาทิ ปะการังเขากวางบางชนิดจะเจริญเติบโตเฉลี่ยได้กว่า 10 เซนติเมตรต่อปี ในขณะที่ปะการังก้อนอัตราเติบโตเฉลี่ยจะมีเพียงประมาณ 1 - 2 เซนติเมตรต่อปีเท่านั้น ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่ปะการังถูกทำลายแล้วจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

ลักษณะของปะการัง
เนื่อง จากปะการังมีรูปร่างหลากหลายและมีร่วม 1,000 ชนิด บางชนิดก็กลับมีรูปร่างแตกต่างกันไปตามบริเวณที่อยู่อาศัยด้วย จึงนับเป็นการยากที่จะรู้จักชื่อปะการัง ยกเว้นการศึกษาอย่างจริงจัง ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการรู้จักปะการังในขั้นต้น โดยสามารถแบ่งตามลักษณะที่เห็นออกได้เป็น 7 กลุ่มคือ

1. ปะการังก้อน (Massive Coral) มีลักษณะเป็นก้อนตันคล้ายก้อนหิน เช่น ปะการังสมอง
2. ปะการังกึ่งก้อน (Submassive Coral) มีลักษณะเป็นแท่งรวมกันเป็นกระจุกโดยไม่ได้ติดเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด
3. ปะการังเคลือบ (Encrusting Coral) มีลักษณะเติบโตขยายคลุมไปตามลักษณะของพื้นผิวที่มันห่อหุ้มอยู่
4. ปะการังกิ่งก้าน (Branching Coral) มีลักษณะเป็นกิ่งก้านแตกแขนง
5. ปะการังกลีบซ้อน (Foliaceous Coral) มีลักษณะเป็นแผ่นรวมกันเป็นกระจุกแบบใบไม้หรือผัก
6. ปะการังแผ่น (Tabulate Coral) มีลักษณะที่ขยายออกในแนวราบคล้ายโต๊ะอาจซ้อนกันเป็นชั้นๆ
7. ปะการังเห็ด (Mushroom Coral) มีลักษณะเป็นปะการังก้อนเดี่ยวๆ

นอก จากนี้แล้ว ก็ยังมีสัตว์ 2 ประเภทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดียวกับปะการัง แต่มีลักษณะภายนอกคล้ายปะการังมาก คือ ปะการังสีน้ำเงิน (Blue coral) ซึ่งในสภาพ
ธรรมชาติขณะมีชีวิตอยู่จะมีสีเทา แต่เมื่อตายแล้วจะเห็นชัดว่าเป็นปะการังทั้งก้อน อีกประเภทหนึ่งคือปะการังไฟ (Fire coral) พวกนี้มีสีน้ำตาลเหลือง เมื่อไปสัมผัสโดนกับพวกนี้แล้วจะถูกเข็มพิษ ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าปะการัง ทำให้เกิดอาการแพ้ได้

รูปแบบและการแพร่กระจายของปะการังในประเทศไทย
1. กลุ่มปะการัง (Coral Community) เป็นบริเวณที่มีก้อนปะการังกระจายอยู่ตามพื้น จะไม่พบหินปูนที่เกิดจากการสะสมทับถมกันของปะการังได้เด่นชัด
ความ ลาดชันของพื้นเป็นไปตามลักษณะของชายฝั่ง มิใช่เกิดจากการสร้างแนวปะการังการแพร่กระจายของปะการังจึงเป็นไปตามลักษณะ ฝั่ง จะพบกลุ่มปะการังในบริเวณที่มีพื้นแข็ง เช่น บริเวณที่มีโขดหิน บริเวณข้างเกาะเป็นต้น

2. แนวปะการัง (Coral Reef) บริเวณนี้จะเห็นการสะสมตัวของหินปูนที่เกิดจากปะการัง ซึ่งตายทับถมอยู่ด้านล่างของปะการังมีชีวิตชัดเจน โดยทั่วไปแนว
ปะการัง นี้มักจะอยู่ห่างจากชายฝั่งออกมา โดยมีชายหาดด้านในเป็นพื้นทราย ถัดออกมาก็จะพบแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีปะการังอยู่ประปรายในบริเวณที่น้ำไม่ลึกนัก เรียกว่า Reef Flat เวลา น้ำลงมากๆ ปะการังจะโผล่เหนือน้ำเล็กน้อยเป็นสาเหตุที่ด้านบนผิวหน้าของปะการังจะตาย แล้ว จึงมาถึงแนวปะการัง ซึ่งมีปะการังขึ้นทับถมกันมากมาย เป็นบริเวณที่มีพลังงานหมุนเวียนมาก เพราะในบริเวณนี้จัดได้ว่าเป็นบริเวณ ปะทะคลื่น (Wave Front)

ลักษณะต่างๆ ของปะการังในประเทศไทย
อ่าวไทยฝั่งตะวันออก
* จังหวัดตราด พบที่หมู่เกาะช้าง หมู่เกาะหมาก และหมู่เกาะกูด เป็นบริเวณที่เห็นความเป็นแนวปะการังชัดเจน มีหลายบริเวณที่ปะการังงดงามและหลากหลายมาก จัดเป็นบริเวณที่มีแนวปะการังที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
* จังหวัดจันทบุรี เนื่องจากมีแม่น้ำเวฬุเปิดออกบริเวณจังหวัดนี้ จึงทำให้มีป่าชายเลนขนาดใหญ่ จากการที่น้ำจืดและตะกอนลงมามาก ปะการังที่มีอยู่
จึงไม่น่าสนใจเท่าใด
* จังหวัดระยอง พบที่หมู่เกาะเสม็ด หมู่ เกาะกุฏี และหมู่เกาะมัน ปะการังที่พบในบริเวณนี้เริ่มเห็นการสร้างแนวปะการังจึงมีการซ้อนอยู่เป็น ชั้นๆ มีความหลากหลายและเติบโตดี
* จังหวัดชลบุรี พบปะกา รังที่หมู่เกาะสีชังเป็นเกาะแรก หมู่เกาะไผ่ หมู่เกาะล้าน และหมู่เกาะคราม ปะการังในบริเวณสีชังอันเป็นอ่าวไทยตอนในจะมีลักษณะเป็นเพียงกลุ่มปะการัง เท่านั้น เมื่อเลยออกไปไกลจากอ่าวไทยตอนในได้แก่ หมู่เกาะครามจะมีความหลากหลายและการเจริญของปะการังดีกว่าตอนในของอ่าว

อ่าวไทยฝั่งตะวันตก
* จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแนวปะการังพัฒนาดีมาก บางบริเวณสวยงาม บางแห่งทับถมของปะการังทำให้ตื้นขึ้นมาเป็นเกาะเล็กๆปะการังพบที่หมู่เกาะ เต่า หมูเกาะพะงัน หมู่เกาะสมุย หมู่เกาะแตน และหมู่เกาะอ่างทอง
* จังหวัดชุมพร ปะการัง มีการทับถมกันจนเป็นแนวปะการังแล้ว มีการเจริญของปะการังดี ปะการังพบที่หมู่เกาะจระเข้ หมู่เกาะง่ามเกาะไข่ เกาะทะลุ หมู่เกาะมาตรา หมู่เกาะมัดหวาย และหมู่เกาะค้างเสือ
* จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดแรกทางชายฝั่งด้านนี้ที่พบปะการัง ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มของปะการังมากกว่าเป็นแนวปะการังที่หมู่เกาะเลื่อม
เกาะจาน

ทะเลอันดามัน

* จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่มีป่าชายเลนมาก ห่างจากฝั่งออกไปจึงจะมีปะการัง พบที่หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง - ราวี
* จังหวัดตรัง อุดมไปด้วยป่าชายเลนและหญ้าทะเลบริเวณชายฝั่ง การเติบโตของปะการังที่ค่อนข้างดีนั้นพบที่หมู่เกาะไหง และหมู่เกาะรอก
* จังหวัดกระบี่ บริเวณชายฝั่งมีป่าชายเลนและมีแม่น้ำ ต้องออกไปห่างฝังปะการังจึงจะดี พบได้ที่เกาะด้ามหอก หมู่เกาะพีพี และหมู่เกาะลันตา
* จังหวัดภูเก็ต พบตามชายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ส่วนทางชายฝั่งด้านตะวันออกมีป่าชายเลน และเป็นทรายปนเลน ต้องออกไปห่างภูเก็ค
เช่น เกาะห้อง จึงพบแนวปะการังได้ ส่วนทางใต้เกาะภูเก็ตมีเกาะไม้ท่อน และหมู่เกาะราชา
* จังหวัดพังงา ทางตะวันตก ห่างออกจากฝั่งออกไปมากมีหมู่เกาะอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งแต่ละเกาะมีแนวปะการังเจริญดีมาก เช่นหมู่เกาะสุรินทร์ เกาะตาชัย
หมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะยวง ทำให้เป็นที่สนใจของนักดำน้ำทั่วโลก ส่วนทางทิศใต้เป็นป่าชายเลนขนาดใหญ่ ทำให้ไม่พบแนวปะการัง
* จังหวัดระนอง เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำและป่าชายเลนกว้างขวาง การเติบโตของปะการังจึงไม่ดี แต่อย่างไรก็ตามห่างฝั่งออกไปก็สามารถพบปะการังได้
เช่นกันที่หมู่เกาะกำ

สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง
1. สาหร่าย
2. ฟองน้ำ
3. หญ้าทะเล
4. ปะการังอ่อน
5. กัลปังหา และพัดทะเล
6. ดอกไม้ทะเล
7. หนอนทะเล
8. หอย
9. สัตว์มีขาเป็นข้อ เช่น กุ้ง ปู
10. สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นปุ่ม เช่น หอยเม่น ปลาดาว ปลาดาวหมอน
11. เพรียงหัวหอม
12. ปลาต่างๆ เช่น ปลาผีเสื้อ ปลาสลิดหิน ปลาเก๋า ปลากะพง

ความสำคัญของปะการัง
แนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่มีคุณค่าและประโยชน์นานัปการ แต่มักถูกมองข้าม และไม่ค่อยจะได้รับความสำคัญ

1. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์นานาชนิด
ทั้งนี้เพราะลักษณะที่มีซอกมีโพรงอยู่ทั่วๆ ไปทำให้เหมาะต่อการหลบภัยเป็นที่อยู่และหาอาหารหลายมีค่าทางเศรษฐกิจ สามารถที่จะจับมาใช้อย่างถูกวิธี การ อนุรักษ์ได้ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หลายชนิดเป็นที่นิยมในการบริโภค ตลอดไปจนถึงการสะสม ทำให้มีแพงและเป็นที่ต้องการของตลาดมาก
2. แนวปะการังตามชายฝั่งมีส่วนในการช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่ กระทำต่อชายฝั่งได้ เมื่อคลื่นปะทะกับปะการังที่ขอบแนวปะการัง คลื่นจะแตกตัว ทำความรุนแรงที่กระทบหาดทรายลดลง ในหลายๆ แห่งซึ่งปะการังถูกทำลายไป ชายฝั่งทะเลจะถูกกัดเซาะและพังทลาย ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก
3. แนวปะการังเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเล เนื่องจากความสวยงาม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต น้ำที่ใสสะอาดและองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย
ทำให้บริเวณแนวปะการังกลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและดึงดูด นักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี และขณะนี้จำนวนนักดำน้ำกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศและต่างประเทศ กำลังนิยมดำน้ำในประเทศไทยกันมากขึ้น
4. ความสิ่งคัญของปะการังและสิ่งมีชีวิตในทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขกำลังขยายตัวอย่างมาก เพราะสามารถสกัดสารเคมีจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
ไป ใช้ประโยชน์กันได้นานัปการ เช่น ทำครีมทาป้องกันแสง อัลตราไวโอเลตซึ่งทำลายเซลล์ผิวหนัง การสกัดสารต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการทดลองเกี่ยวกับการค้นหาสารเพื่อขับไล่ปลาฉลาม เป็นต้น
5. นอก จากคุณค่าดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ปะการังยังมีคุณค่าในการทำให้เกิดทรายกับชายหาด โดยเกิดจากการสึกกร่อนแตกย่อยของโครงสร้างหินปูน โดยการจากสัตว์ทะเลบางชนิด และโดยคลื่น เป็นต้น

ปะการังถูกทำลายเนื่องจากสาเหตุใดบ้าง

1. การจับสัตว์น้ำในแนวปะการัง เช่น
1.1 เรืออวนรุน และเรืออวนลากที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขต 3,000 เมตร ซึ่งเป็นแหล่งปะการังซึ่งเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อนซึ่งไม่เพียง
แต่เป็นการทำลาย ปะการังอย่างเดียวเท่านั้นยังเป็นการทำลาย ระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วย และปัญหานี้ค่อนข้างรุนแรงมาก
1.2 การระเบิดปลา ส่งผลให้ปะการังหักพังแหลกสลายนี่ก็เป็นการทำลายปะการังอย่างรุนแรง เพราะปะการังจะหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โอกาสที่จะกลับมา
เหมือนเดิมใช้เวลานานมาก
1.3 การใช้สารเคมีเบื่อปลา จะทำให้สารเคมีที่ตกค้างทำลายปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จนตายหมด
2. การท่องเที่ยว เกิดจากการที่นักท่องเที่ยวไปเดินหรือยืนบนปะการัง รวมทั้งการทิ้งสมอเรือที่นำนักท่องเที่ยวเข้าไป แม้ปัจจุบันจะมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งมีการผูกทุ่นเพื่อจอดเรือ แต่ยังมีเรือหลายลำที่ยังทิ้งสมอ ลงไป และการก่อสร้างชายฝั่ง เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว จะมีผลกระทบอย่างมากหากสร้างลงไปบนปะการัง เช่นสร้างท่าเรือ ขุดลอกร่องน้ำเพื่อเอาเรือเข้า เป็นต้น

3. การพัฒนาที่ดินบริเวณใกล้เคียงชายฝั่ง การก่อสร้างที่ยื่นล้ำลงไปในชายหาด ทำให้ทรายถูกพาเคลื่อนไป อาจไปทับถมปะการังได้ หรือก่อสร้าง
โดย เปิดหน้าดินออกทำให้เกิดการชะตะกอนลงไปในน้ำไปคลุมปะการัง ตายได้ การทิ้งของเสียและสิ่งปฏิกูลลงในบริเวณปะการัง ก็ทำให้เสียสมดุลของระบบนิเวศ เช่น สาหร่ายจะเกิดมากขึ้นปกคลุมปะการังให้ตายหมด เมื่อมีน้ำเสียทิ้งลงไป เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ
4. การทำเหมืองแร่บริเวณใกล้เคียงแนวปะการัง ไม่ว่าบนบกหรือในทะเล น้ำล้างแร่นั้นมีตะกอนมากจะทำให้ปะการังตายได้


วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของการสร้างสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้

พัฒนาการของการสร้างสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้

 ในการสร้างสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี อาจต้องมีเรื่องของกลไกและการควบคุม หรือวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อช่วยให้สามารถใช้งานได้ตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
   
      สิ่งของเครื่องใช้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอย่างต่อ เนื่อง มีความหลากหลายทั้งรูปทรง สีสัน วัสดุ และประโยชน์ใช้สอยที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น วิวัฒนาการของเตารีดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน จากเดิมที่เป็นเตารีดใช้ความร้อนจากถ่าน ทำด้วยโลหะที่มีน้ำหนักมาก การใช้งานจะต้องเปิดฝาด้านบนเพื่อเติมถ่านที่ติดไฟแล้วลงไป เพื่อให้ความร้อนและในระหว่างการใช้งานต้องยกเตารีดไปถูกับใบตองสดอยู่เสมอ เพื่อทำให้ผิวหน้าของเตารีดลื่นและต้องคอยเติมหรือคีบถ่านเพื่อควบคุม อุณหภูมิของเตารีดไม่ให้ร้อนมากเกินไป จึงเป็นสาเหตุของการใช้งานไม่สะดวก และบางครั้งจะมีขี้เถ้าเลอะเทอะเปื้อนเสื้อผ้าอีกด้วย
ภาพที่ 6.1  เตารีดใช้ถ่านและลักษณะการใช้งาน
     จากเตารีดใช้ถ่าน ต่อมาได้พัฒนาเป็นเตารีดไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการสร้างความร้อน ตัวเตารีดทำจากวัสดุแผ่นเหล็กชุบโครเมียม ทำให้มีน้ำหนักเบา และมีปุ่มควบคุมความร้อน สามารถปรับอุณหภูมิที่ต้องการใช้เพื่อให้เหมาะสมกับเส้นใยของเนื้อผ้า
ภาพที่ 6.2  เตารีดไฟฟ้า

     นอกจากนี้ยังมีเตารีดไฟฟ้าที่ถูกพัฒนาในรูปแบบอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เตารีดไอน้ำแบบรีดแนวนอน แบบกดทับและแบบรีดแนวตั้ง
     เตารีดไอน้ำแบบรีดแนวนอน เนื่องจากการ รีดผ้าแบบเดิม ต้องพรมน้ำลงบนผ้าก่อนรีด เพื่อเป็นการลดเวลาในการพรมน้ำและทำให้รีดผ้าเรียบได้เร็วขึ้น จึงมีการพัฒนามาเป็นเตารีดไอน้ำที่สามารถพรมน้ำไปพร้อม ๆ กับการรีดผ้า มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับตัดไฟอัตโนมัติ และบางชนิดมีระบบควบคุมแรงดันไอน้ำ
ภาพที่ 6.3  เตารีดไอน้ำแบบรีดแนวนอน


     เตารีดไอน้ำแบบกดทับ ด้วยพื้นที่ของผิว หน้าเตารีดที่กว้าง ทำให้มีพื้นที่ในการรีดมากกว่าเตารีดแบบทั่วไป จึงช่วยลดเวลาในการรีดผ้าได้ เตารีดชนิดนี้มีกลไกของคันโยกที่ทำให้เกิดแรงกดทับบนเนื้อผ้าเพื่อให้ผ้า เรียบ มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบควบคุมแรงดันของไอน้ำ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ตัดไฟอัตโนมัติ
ภาพที่ 6.4  เตารีดไอน้ำแบบกดทับ

     เตารีดไอน้ำแบบรีดแนวตั้ง เป็นเตารีดที่ใช้ความร้อนจากไอน้ำพ่นใส่ผ้าที่ยับย่นให้คลายตัว มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบควบคุมแรงดันของไอน้ำ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ตัดไฟอัตโนมัติ สะดวกต่อการรีดผ้าที่ไม่สามารถถอดรีดในแนวนอนได้ เช่น ผ้าม่านติดราง
ภาพที่ 6.5  เตารีดไอน้ำแบบแนวตั้ง

     จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ามีการนำระบบไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งกลไกและการควบคุมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเตารีดให้ใช้งานได้สะดวก และมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับสิ่งของเครื่องใช้อื่น ๆ ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด เช่น กระติกน้ำร้อน พัดลม หม้อหุงข้าว โคมไฟ นาฬิกา ฯลฯ

ที่มาของเครื่องคิดเลข

ที่มาของเครื่องคิดเลข

          เครื่องคิดเลข  เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการคำนวณของมนุษย์   ปัจจุบันนี้เวลาทุกวินาทีแสนจะมีค่าเป็นอย่างมาก  ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่  "เครื่องคิดเลข"  จะกลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้ความสามารถในการคำนวณของมนุษย์ได้พัฒนารุดหน้าไปอย่างหน้าอัศจรรย์

 


         เมื่อมนุษย์รู้จักการคิด รู้จักการนับ ก็เริ่มมีความพยายามหาวิธีการ ในการนับของตัวเอง โดยครั้งแรกก็ใช้นิ้วมือช่วยในการนับ เมื่อนิ้วมือเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอสำหรับการนับ  ก็พยายามคิดหาอุปกรณ์อย่างอื่น มาแทน โดยเริ่มนับก้อนหิน ก้อนกรวด ปมเชือก เปลือกหอยต่อมาความคิดของมนุษย์ก็มีพัฒนาการขึ้น รู้จักคิดในสิ่งที่ยากและซับซ้อนการนับมากและต่อเนื่องขึ้น  เขาจึงหาวิธีที่จะทำการรวบรวมการนับของเขาไว้ด้วยกัน ก็หาวิธีใหม่โดยการใช้วิธีการจดบันทึกสิ่งของ แรกเริ่มโดยการขีดบนพื้นดิน ต่อมาก็ใช้บันทึกลงบนกระดาษ

 

 ลูกคิด

          ย้อนกลับไปตั้งแต่วันที่มนุษย์ใช้แค่นิ้วทั้งสิบในการนับคำนวนเลข จนมาถึงยุคที่คนจีนเริ่มคิดประดิษฐ์ ลูกคิด ขึ้นมาช่วย หรือที่ในประเทศญี่ปุ่นเรียกกันว่า โซโรบัง  เป็นเวลานานกว่าร้อยปีกว่าให้หลัง ที่นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์นามว่า John Napier ที่ได้เริ่มคิดค้นการทำเครื่องหมายบนกระดูกหลายๆแท่ง และเริ่มใช้การจัดเรียงตำแหน่งคงที่เพื่อช่วยในการคำนวณ

 

วิธีการคำนวณโดยใช้กระดูกนี้นั้นมีชื่อเรียกว่า Napier’s Bones ตาม ชื่อของผู้คิดค้น และต่อมาได้มีการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งเป็น ไม้บรรทัดคำนวณ แต่เครื่องมือเหล่านี้นั้นไม่ได้มีฟังก์ชั่นที่ซับซ้อนอะไร แต่เขาก็เก่งมากจนสามารถคิดค้นสูตรการหา Logarithm ขึ้นมาได้

  Napier’s Bones

และต่อมา  วิลเลียม ออกเกด (Willium Ougtred)  นักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษ ได้ผลิต ไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rule) เพื่อช่วยในการคูณ  ซึ่งนิยมใช้กันมากในงานด้านวิศวกรรมและงานด้านวิทยาศาสตร์ 

 

 Willium Ougtred ผู้ผลิตไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rule)

       จนกระทั่งนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ  เบล์ส ปาสคาล (Blaise Pascal)  ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องคิดเลขที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับเครื่องคิดเลขที่เราใช้กันทุกวันนี้

         
เนื่องจากเครื่องคิดเลข นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่ และยังมีต้นทุนในการผลิตไม่สูงเหมือนสิ่งประดิษฐ์ขนาดใหญ่แบบสิ่งประดิษฐ์ ชิ้นใหญ่อื่น ๆ  เช่นเครื่องบิน หรือ คอมพิวเตอร์ จึงได้มีนักประดิษฐ์หลายคนพยายามที่จะประดิษฐ์เครื่องคิดเลขให้สมบูรณ์มาก ยิ่งขึ้น
 
 
 Arithmometer Machine
         จากนั้นหลายร้อยปี วิวัฒนาการก็เดินทางต่อมาเรื่อย ๆ William Seward Burroughs เขาได้ประดิษฐ์เครื่องมือในการคำนวณ ขึ้นมาเป็นครั้งแรก และยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในปี 1885 สำหรับ 'Calculating Machine' ซึ่งได้สิทธิบัตรในปี 1888 และได้สร้างระบบการคำนวณสำหรับธนาคารในยุคนั้นขึ้นมาต่อมาหลังจากวิลเลี่ยม เสียชีวิตไปแล้วบริษัทของตระกูลเขาก็ยังคงพัฒนาระบบการคำนวณที่ซับซ้อนมาก ขึ้นเรื่อย ๆ
 
 
 สิทธิบัตร เครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก ของ Burroughs
 
 
 
    เครื่อง คิดเลข  เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนามาจนหลายยุค  หลายสมัยแล้ว  การได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่  จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ แม้จะเป็นเพียงแค่ความคิดเล็กน้อยก็ตาม

อาหารท้องถิ่นของญี่ปุ่น

                 อาหารท้องถิ่นของญี่ปุ่น 

ซูชิ

ซูชิเป็นอาหารที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ทั้งนิกิริซูชิหรือข้าวคลุกน้ำส้มสายชูปั้นเป็นก้อนขนาดพอคำหน้าซีฟู้ดสดๆ ตามฤดูกาล ไปจนถึงจิราชิซูชิหรือข้าวพร้อมส่วนผสมต่างๆ ที่เสิร์ฟมาในจาน ซูชิที่ดูสวยงามเป็นประเพณีของญี่ปุ่นที่ดึงดูดผู้คนทั่วโลก

ชินโตมิซูชิ (กินซ่า) (ภาษาอังกฤษ)

 


อุเมะงะโอกะ ซูชิ โนะ "มิโดริ โซฮอนเตน" (ภาษาญี่ปุ่น)

 


โซบะ

โซบะถือเป็นอาหารที่ทานได้ทุกวันมาตั้งแต่กลางสมัยเอโดะ และเป็นรสชาติท้องถิ่นที่สำคัญของโตเกียว และเป็นอาหารเพียงไม่กี่ชนิดที่ผู้คนยอมให้รับประทานเสียงดังได้ เชื่อกันว่าการดูดอากาศไปพร้อมๆ กับการดูดเส้นเข้าปากเป็นการเพิ่มความหอมของกลิ่นเส้นโซบะ


ยูซุย (โจฟุ) (ภาษาญี่ปุ่น)

ริคิวอัน (นิฮมบาชิ) (ภาษาญี่ปุ่น)

 


มอนจายากิ

มอนจายากิทำจากแป้งผสมโรยหน้าด้วยกะหล่ำปลีหั่นฝอยและส่วน ผสมอื่นๆ แล้วปรุงให้สุกบนกระทะแบน ร้านอาหารกว่า 60 แห่งบนถนนซึกิชิมะซึ่งมีร้านมอนจาเรียงรายมีมอนจาให้เลือกมากมายหลายแบบ ตั้งแต่มอนจาซีฟู้ดไปจนถึงมอนจายากิที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ


มุงิฮอนเตน (ซึกิชิมะ) (ภาษาญี่ปุ่น)

คุระ (ซึกิชิมะ) (ภาษาญี่ปุ่น)

 


ฟุกะงะวะเมชิและฟุกะงะวะดง

ฟุกะงะวะเมชิเป็นข้าวที่เสิร์ฟในชามราดด้วยสตูว์มิโสะใส่ หอยอาซาริและต้นกระเทียมญี่ปุ่นหั่น ในตอนแรกอาหารชนิดนี้เป็นอาหารจานด่วนสำหรับชาวประมงที่ง่วนกับการทำงานใน ย่านฟุกะงะวะใกล้ปากแม่น้ำสุมิดะงะวะซึ่งมีการเก็บหอยอาซาริกันมากในสมัยเอ โดะ


ฟุกะงะวะ กะมะโช (คิโยสึมิ-ชิระกะวะ)


โดโจนาเบะ/ยะนะงะวะนาเบะ

โดโจนาเบะเป็นปลาโดโจที่ปรุงรสด้วยซุปวะริชิตะรสโชยุปรุง ให้สุกในหม้อก้นตื้น เสิร์ฟพร้อมต้นกระเทียมหั่นหากต้องการ ส่วนยะนะงะวะนาเบะเป็นปลาโดโจปรุงในหม้อก้นตื้นเช่นเดียวกันแต่ปรุงด้วยราก โกะโบฝานบางๆ และไข่

เรียวโกกุ โดเซฮุ คิเคียวยะ (เรียวโกกุ) (ภาษาญี่ปุ่น)



จังโกะนาเบะ

จังโกะนาเบะทำจากไก่และผักต่างๆ ตามฤดูกาลนำมาปรุงในหม้อ นาเบะชนิดนี้เดิมทีเป็นอาหารที่เตรียมให้นักมวยปล้ำซึ่งแต่ละค่ายก็มีสูตร ของตัวเอง และได้รับความนิยมในหมู่ผู้คนทั่วไปในเวลาต่อมา

อาหารพื้นเมืองชาวเกาะ

ชาวเกาะอิซุและโองะซะวะระนำอาหารทะเลมากมายมาทำอาหารหลาก หลายชนิด ไม่ใช่แค่ซาชิมิแต่ยังนำมาย่างถ่าน นึ่ง และนำมาปรุงกับซุปมิโสะด้วย ชิมะซูชิทำจากปลาที่จับได้ในบริเวณหมู่เกาะและนำไปหมักในโชยุเพื่อเป็นการ ถนอมอาหารในอากาศที่อบอุ่น ขั้นตอนนี้เรียกว่าการทำซึเกะ ข้าวปรุงรสหวานนิดๆ และมีรสชาติเข้มข้น เนื่องจากบนเกาะหาวาซาบิได้ยาก จึงใช้มัสตาร์ดคาราชิหรือพริกโทงะระชิแทน

ชิมะซูชิ (ภาษาอังกฤษ)

อาหารพื้นบ้านรสชาติพื้นเมืองของโตเกียวจากหมู่เกาะโตเกียว (ภาษาอังกฤษ)



อุนางิ (ปลาไหล)

การปรุงปลาไหลคาบายากิในแถบคันโตไม่เหมือนกับในแถบคันไซ สำหรับสไตล์คันโต จะหั่นปลาไหลด้านหลัง แล้วนำไปต้มเปล่าๆ จากนั้นก็นำไปนึ่ง ปรุงรส แล้วนำไปย่างอีกครั้ง มีตำนานว่าเนื่องจากสมัยเอโดะเป็นยุคที่ซามูไรเฟื่องฟู การผ่าปลาไหลด้านท้องถือเป็นโชคร้าย

มนุษย์ต่างดาว

มนุษย์ต่างดาว

 


          มนุษย์ต่างดาว (อังกฤษ: alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิต ที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra ["เกินกว่า" หรือ "ไม่ใช่ของ"] และ terrestris ["อาศัยอยู่บนโลก, เป็นของโลก"]) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวก แบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความ ซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น  การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" 
  ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้น ฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน  นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ 
  
        นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิต นอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อ กับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะ กระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไป ด้วยดี
 
 

ภูมิหลัง

        สิ่งมีชีวิตเอเลียน เช่น แบคทีเรีย ได้รับการตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่าจะมีอยู่ในระบบสุริยะและตลอดทั่วไปทั้งเอกภพ สมมติฐานนี้ขึ้นอยู่กับขนาดที่กว้างใหญ่ (vast size) และกฎทางกายภาพที่สอดคล้องกันของเอกภพที่สังเกตได้ จากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานในเรื่องนี้ทำโดยนักวิทยาศาสตร์เช่นคาร์ล เซแกน และ สตีเฟน ฮอว์คิง, ก็ได้มีความเห็นพ้องกันว่าไม่น่าที่จะเป็นไปได้สำหรับการที่จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ที่อื่นนอกเหนือจากโลก  ข้อโต้แย้งนี้ได้ถูกรวบรวมอยู่ในหลักการพื้นฐานโคเปอร์นิคัส (Copernican principle), ที่ระบุว่าโลกไม่ได้ครอบครองตำแหน่งอยู่อย่างโดดเดี่ยวในจักรวาล, และหลักความธรรมดาสามัญ (mediocrity principle) ซึ่งถือว่าไม่มีอะไรพิเศษเกี่ยวกับชีวิตบนโลก  คุณสมบัติทางเคมีของชีวิตอาจจะเพิ่งเริ่มเมื่อไม่นานมานี้หลังจากที่เกิด บิ๊กแบงเมื่อประมาณ 13.8 พันล้านปีที่ผ่านมา, ในช่วงยุคที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เมื่อจักรวาลมีอายุได้เพียง 10 ถึง 17 ล้านปี ชีวิตอาจจะปรากฏเกิดขึ้นมาได้อย่างเป็นอิสระในสถานที่หลายแห่งทั่วทั้ง จักรวาล หรือมิฉะนั้นชีวิตอาจก่อตัวขึ้นได้อย่างไม่บ่อยครั้งนักแล้วจึงได้แพร่ กระจายออกไปในระหว่างดาวเคราะห์ที่มีความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ คือ สภาพที่เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ผ่านวิธีการแบบแพนสเพอร์เมีย (panspermia) หรือ เอ็กเซลแเจแนซิส (Exogenesis) ซึ่งมีวิธีการที่มาจากสมมติฐานที่คล้าย ๆ กัน คือ เป็นสมมติฐานที่ว่าชีวิตที่มีอยู่ทั่วทั้งจักรวาลนั้นได้ถูกแพร่กระจัด กระจายไปสู่ห้วงอวกาศและดาวเคราะห์ต่าง ๆ โดยอุกกาบาต, ดาวเคราะห์น้อย, ดาวหาง, และ วัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ (planetoids)  ในกรณีใด ๆ โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ที่ซับซ้อนที่จำเป็นสำหรับชีวิตอาจจะเกิดขึ้นในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดของเม็ดฝุ่นคอสมิคที่ล้อมรอบดวงอาทิตย์ก่อนที่จะมีการก่อตัวขึ้นของโลกโดยที่ได้มีการศึกษาโดยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์  ตามที่ได้อ้างอิงจากการศึกษาถึงสิ่งเหล่านี้, กระบวนการเดียวกันนี้ยังอาจเกิดขึ้นได้กับดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ที่มีดาวเคราะห์อยู่ในบริเวณโดยรอบ (โปรดดูเพิ่มเติมที่โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ต่างดาว (Extraterrestrial organic molecules)) สถานที่แนะนำที่ชีวิตอาจจะได้มีการพัฒนาขึ้น ได้แก่ ดาวเคราะห์เช่น ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดี,  ดวงจันทร์ไททันและเอนเซลาดัสของดาวเสาร์  ในเดือนพฤษภาคม ปี 2011, นักวิทยาศาสตร์นาซ่ารายงานว่าดวงจันทร์เอนเซลาดัส "เป็นดาวเคราะห์น้องใหม่ที่มีแนวโน้มที่น่าสนใจที่มีสภาพที่เหมาะสมต่อการ เป็นแหล่งที่เอื้ออิงอาศัยอยู่ได้สำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มี ความเป็นไปได้มากที่สุดนอกเหนือจากโลกของเราในระบบสุริยะเท่าที่เรารู้จัก กันดีที่สุดในตอนนี้"

    นับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งเสนอแนะส่งเสริมต่อแนวความคิดที่ว่า "เขตอาศัยได้" (habitable zone) เป็นอาณาบริเวณที่ที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อาจจะสามารถพบเจอได้


 
 
 
 

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาวันลอยกระทง

 

 

ประวัติความเป็นมาวันลอยกระทง

        วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณโดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายเช่นลอยเคราะห์ บูชาพระพุทธเจ้าแต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงคุณแม่พระคงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ โดยประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่ง บัดนี้

ลอยกระทงในอดีต

 

 ประเพณีลอยกระทงมีมานานจนสืบประวัติไม่ได้ และไม่มีในคัมภีร์ทางศาสนาเสฐียรโกเศศ
(พระยา อนุมานราชธน) ได้ค้นคว้าที่มาของประเพณีลอยกระทงไทยทุกภาคตลอดจนถึงประเทศใกล้เคียงคือ พม่า กัมพูชา จีน อินเดีย ได้ความว่ามีประเพณีลอยกระทงทุกประเทศด้วยเหตุผลต่างๆ กัน

สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้

๑.เพื่อขอขมาแม่คงคาเพราะได้อาศัยน้ำท่านกินและใช้และอีกประการหนึ่งมนุษย์
มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย

๒.เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานทีซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย

๓.เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

๔.เพื่อบูชาพระอุปคุตชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแก่พระอุปคุตอย่างสูง
ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้

การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง
ก้านกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่น้ำลำคลอง

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป วันลอยกระทง

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ

นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ

อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ

การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน

การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)

 
 
 
 การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เร็วกว่าของเรา ๒ เดือน)
เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเลตรงกับคติ
ของชาวพม่า

การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ

 

 

 จัด เป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขง ดูสวยงามตระการตา

กิจกรรม วันลอยกระทง

-นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
-ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง การประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
-จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
-จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง



 การลอยกระทงในปัจจุบันยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควรเมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงใน

เดือน ๑๒ ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ




ที่มาข้อมูลจาก http://www.tlcthai.com/