ประวัติความเป็นมาวันลอยกระทง
วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณโดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายเช่นลอยเคราะห์ บูชาพระพุทธเจ้าแต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงคุณแม่พระคงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ โดยประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่ง บัดนี้
ลอยกระทงในอดีต
ประเพณีลอยกระทงมีมานานจนสืบประวัติไม่ได้ และไม่มีในคัมภีร์ทางศาสนาเสฐียรโกเศศ
(พระยา
อนุมานราชธน)
ได้ค้นคว้าที่มาของประเพณีลอยกระทงไทยทุกภาคตลอดจนถึงประเทศใกล้เคียงคือ
พม่า กัมพูชา จีน อินเดีย
ได้ความว่ามีประเพณีลอยกระทงทุกประเทศด้วยเหตุผลต่างๆ กัน
สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้
๑.เพื่อขอขมาแม่คงคาเพราะได้อาศัยน้ำท่านกินและใช้และอีกประการหนึ่งมนุษย์
มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย
๒.เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานทีซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
๓.เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
๔.เพื่อบูชาพระอุปคุตชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแก่พระอุปคุตอย่างสูง
ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้
การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง
ก้านกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่น้ำลำคลอง
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป วันลอยกระทง
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ
การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน
การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)
การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เร็วกว่าของเรา ๒ เดือน)
เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเลตรงกับคติ
ของชาวพม่า
การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ
จัด
เป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ
มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ
ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขง
ดูสวยงามตระการตา
กิจกรรม วันลอยกระทง
-นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
-ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น
การประกวดกระทง การประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ
เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
-จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
-จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง
การลอยกระทงในปัจจุบันยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควรเมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงใน
เดือน
๑๒ ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย
และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้
เครื่องสักการบูชา
ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา
ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ
และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล
ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง
ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ
ที่มาข้อมูลจาก http://www.tlcthai.com/
เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเลตรงกับคติ
ของชาวพม่า
การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ
จัด
เป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ
มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ
ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขง
ดูสวยงามตระการตา
กิจกรรม วันลอยกระทง
-นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
-ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น
การประกวดกระทง การประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ
เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
-จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
-จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง
การลอยกระทงในปัจจุบันยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควรเมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงใน
เดือน
๑๒ ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย
และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้
เครื่องสักการบูชา
ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา
ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ
และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล
ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง
ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติที่มาข้อมูลจาก http://www.tlcthai.com/