10 สัตว์ผู้กล้าที่เสียสละเพื่อการศึกษาเรื่องอวกาศ
ความสำเร็จทุกวันนี้อาจทำให้เราภาคภูมิใจ
ที่การก้าวสู่อวกาศไม่ใช่แค่ความฝันอีกต่อไป และมีแต่จะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
จนภารกิจที่คาดว่าจะไม่มีวันเป็นจริง กลายเป็นเรื่องใกล้แค่เอื้อม
อย่างไรก็ตาม บางทีคุณอาจลืมไปว่าความสำเร็จที่ได้มานั้น
ต้องแลกกับการเสียสละของเพื่อนร่วมโลกมากมาย
ซึ่งถึงแม้มันจะไม่ใช่มนุษย์เหมือนเราแต่ก็มีชีวิตเหมือน ๆ กัน
และบางตัวก็ต้องจบชีวิตไปเพื่อภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์อีกด้วย
หมีน้ำ (Water Bears) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกว่า 1.5 มิลลิเมตร ถูกส่งขึ้นไปพร้อมกระสวยอวกาศ ESA's FOTON-M3 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2007 เพื่อศึกษาความหนาแน่นของรังสีและภาวะสุญญากาศบนอวกาศ โดยถูกส่งออกไปนานถึง 10 วัน ก่อนจะกลับมายังโลกและได้สัมผัสน้ำอีกครั้ง ซึ่งทำให้ 68% ของเหล่าหมีน้ำกลับมามีชีวิตได้อย่างน่าทึ่ง มันเลยถูกยกให้เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่สามารถมีชีวิดรอดได้ท่ามกลางภาวะ สุญญากาศ
ถือเป็นสัตว์ที่ถูกส่งขึ้นอวกาศมากมายหลายครั้ง แต่ลิงชิมแแปนซีตัวแรกสุดที่ถูกส่งขึ้นอวกาศมีชื่อว่า แฮม ซึ่งมันถูกส่งขึ้นไปกับแคปซูล American Mercury ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1961 เพื่อทดสอบความปลอดภัย ก่อนจะส่งมนุษย์ขึ้นไปจริง ๆ ในภายหลัง และเจ้าแฮมก็สามารถมีชีวิตรอดกลับมาได้อย่างปลอดภัยเสียด้วย
เนื่องจากตัวนิวท์ (Newts) เป็นสัตว์ประเภทจิ้งจกที่ทำได้แม้กระทั่งงอกแขนขาออกมาใหม่ด้วยตัวเอง ทำให้มันเหมาะเจาะที่สุดสำหรับภารกิจ USSR's Bion 7 เมื่อปี 1985 ที่มีจุดประสงค์จะวัดความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายของสิ่งมีชีวิตเมื่อต้อง ไปอยู่บนอวกาศ ตัวนิวท์ สายพันธุ์ Pleurodeles Waltl จำนวน 10 ตัว จึงถูกส่งออกนอกโลกไป และนั่นทำให้นักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่ออยู่บนอวกาศ พวกมันสามารถฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
กระต่ายตัวแรกซึ่งมีชื่อว่า มาร์ฟูชา ถูกส่งไปอวกาศด้วยจรวด R2-A rocket ในภารกิจของสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมปี 1959 อย่างไรก็ตามเจ้ามาร์ฟูชาไม่ได้ออกสู่อวกาศเพียงลำพัง แต่ยังมีสุนัขอีก 2 ตัว คือ Otvazhnaya และ Snezhinka เดินทางขึ้นไปพร้อมกับมันด้วย และเมื่อกลับมายังโลก ทั้งสามก็ได้รับการพักฟื้นร่างกาย และปลอดภัยทั้งหมด
เต่าคู่แรกที่ถูกส่งขึ้นไปในห้วงอวกาศ เป็นเต่าจากประเทศรัสเซีย ซึ่งสหภาพโซเวียตส่งขึ้นไปในปี 1968 อย่างไรก็ดี มันไม่ได้ถูกส่งขึ้นอวกาศในแบบทั่วไปเหมือนสัตว์ตัวอื่น ๆ ที่ผ่านมา แต่กระสวยอวกาศ Zond 5 ที่เจ้าเต่าน้อยอาศัยขึ้นไปในอวกาศ ได้มีการโคจรรอบดวงจันทร์ก่อนจะกลับมาสู่โลก และเจ้าเต่าก็มีชีวิตยืนยาวต่อไป
ในปี 1970 องค์การนาซาได้ส่งกบขึ้นสู่อวกาศ ผ่านกระสวยอวกาศ Otolith เพื่อใช้เป็นข้อมูลศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสมอง เมื่อต้องอยู่ในภาวะปราศจากแรงโน้มถ่วง ซึ่งจากสิ่งที่เกิดกับกบ ทำให้พบว่าระบบการทรงตัวของร่างกายจะทำงานผิดปกติชั่วขณะเมื่อเข้าสู่ห้วง อวกาศ แต่ก็จะสามารถกลับมาทำงานได้เหมือนเดิมอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมปี 1973 สหรัฐอเมริกาได้ส่งแมงมุมคู่แรก อาราเบลลา และ อนิต้า ไปกับจรวด Saturn IB ร่วมกับภารกิจ Skylab ครั้งที่สอง ที่มีมนุษย์อยู่ด้วย ซึ่งหน้าที่ของมันเป็นสิ่งที่มีแต่แมงมุมเท่านั้นที่ทำได้จริง ๆ นั่นก็คือตรวจสอบว่าการชักใยของมันเปลี่ยนไปหรือไม่เมื่ออยู่บนอวกาศนั่นเอง ทำให้เราได้เห็นใยแมงมุมถูกทอบนอวกาศเป็นครั้งแรกด้วย
ย้อนกลับไปในปี 1963 ประเทศฝรั่งเศสเคยตั้งใจจะส่งเฟลิกซ์ แมวข้างถนนขึ้นไปในอวกาศ แต่มันก็ดันหนีไปเสียก่อน ทำให้เฟลิเซตต์ แมวตัวเมียข้างถนนตัวใหม่ได้เข้ามาทำภารกิจนี้แทน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมปี 1963 ซึ่งแมวน้อยตัวนี้ถูกฝังขั้วไฟฟ้าไว้ที่สมองเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของมัน ด้วย หน้าที่ของแมวตัวนี้คือขึ้นไปบนอวกาศและกลับลงมาผ่านร่มชูชีพ โดยมันกลับลงมาในเวลาไม่ถึง 15 นาที แถมยังมีชีวิตรอดกลับมาอีกด้วย
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ปี 1957 โซเวียตได้ตัดสินใจส่ง Sputnik 2 ไปเป็นกระสวยอวกาศชิ้นแรกที่โคจรรอบโลก โดยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ข้างในด้วย ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่ว่านั้นก็คือสุนัขจรจัดเพศเมียชื่อ ไลก้า นั่นเอง และสุดท้ายบทสรุปจุดจบชีวิตของไลก้า ถูกเปิดเผยว่า มันตายตั้งแต่อยู่ในกระสวยได้ไม่กี่ชั่วโมงแล้ว เพราะความตื่นกลัวจนช็อก ซึ่งเป็นถือเรื่องน่าเศร้า
แมลงวันผลไม้ (Fruit flies) กลุ่มหนึ่งได้ถูกส่งขึ้นอวกาศไปพร้อม ๆ กับจรวด American V2 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ปี 1947 ที่ระยะทาง 68 ไมล์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลศึกษาผลกระทบจากพลังคลื่นรังสีต่อสิ่งมีชีวิต ก่อนจะย้อนกลับมาที่โลก ซึ่งแมลงวันผลไม้ทั้งหมดกลับมาได้อย่างปลอดภัย
ทั้งนี้ นอกจากสัตว์ทั้ง 10 ที่เรารวบรวมมาฝาก ยังมีสัตว์อีกมากมายที่ผ่านการส่งขึ้นอวกาศไปเช่นกัน และก็มีทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ หรือถึงขั้นล้มตายก็ด้วย ดังนั้นกว่ามนุษย์จะพัฒนามาถึงทุกวันนี้ได้ ก็คงต้องขอบคุณการเสียสละของเจ้าสัตว์เหล่านี้ด้วยเหมือนกัน